November 29th, 2010
คำตอบของผมต่อคำถามของคนรอบข้าง เกี่ยวกับการทำธุรกิจและสร้างแบรนด์ในอนาคตจะมีรูปแบบเป็นอย่างไรในข้อที่ 2 คือ
ความเสมอต้นเสมอปลาย และคงเส้นคงวา
ผมมักจะได้ยินผู้หญิงเขาคุยกันในกลุ่มเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือบางครั้งผมมีโอกาสได้อ่านบทความในนิตยสารผู้หญิงเกี่ยวกับความรักที่จีรังยั่งยืนที่พวกเธอใฝ่หา
ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีคำตอบในใจว่าความรักที่สมบูรณ์แบบและในอุดมคติที่พวกเธอใฝ่หาคือ ต้องการให้คู่รักของตนรักเธอไม่ต้องมากจนเกินไปในช่วงที่เป็นแฟนกัน แต่ต้องการความรักแบบน้อยๆแต่สามารถยืนยาวไปได้ตลอดทั้งชีวิต
เอาเป็นว่าขอให้เธอรักฉันน้อยๆก็ได้แต่ต้องรักฉันนานๆนะ
แนวคิดของความรักในคู่หนุ่มสาวหรือคู่ครองไม่ได้แตกต่างจากแนวคิดในการทำธุรกิจหรือการรักษาความแข็งแกร่งของแบรนด์ให้มีชีวิตที่ยืนยาวเท่าใดนัก
ผู้ประกอบการประสบกับความสำเร็จในยอดขายของสินค้าหรือบริการ เพราะผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของสินค้าหรือบริการนั้นๆในระดับของความคาดหวังที่ต่างฝ่ายก็ต่างให้กันและกัน
เมื่อสาวใดที่หน้ามีจุดด่างดำ แล้วใช้สินค้าประเภทครีมทาให้หน้าขาวจากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งจนหน้าของสาวคนนั้นมีผิวขาวใสขึ้นมาในเวลา 3 – 4 สัปดาห์ ก็เป็นผลมาจากคุณภาพและประสิทธิภาพของครีมทาหน้าขาวแบรนด์นั้นได้ทำหน้าที่ส่งมอบคำมั่นสัญญาที่ได้คุยไว้กับผู้บริโภค
ในขณะที่คำมั่นสัญญาจากแบรนด์ครีมทาหน้าขาวก็ได้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภครายนั้นบนพื้นฐานของราคานอกเหนือจากคุณภาพและประสิทธิภาพที่เป็นองค์ประกอบหลัก
ต่อให้ครีมทาหน้าขาวแบรนด์นั้นมีราคาแพงกว่าแบรนด์อื่นๆในตลาดบ้าง แต่ด้วยความพึงพอใจของผู้บริโภครายที่มีหน้าขาวใสขึ้นทุกอย่างเลยดูลงตัวครบถ้วนไปหมด
แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าวันดีคืนดีสาวคนเดิมเกิดมีอาการหน้าหมองคล้ำขึ้นมา แล้วไปซื้อครีมทาหน้าขาวแบรนด์เดิมมาใช้ แต่กลับหน้าไม่ขาวใสในระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ ไม่เห็นผลดังใจ
เป็นไปได้ไหมที่ผู้บริโภคคนดังกล่าวผิวหน้าเริ่มดื้อกับส่วนผสมของสินค้าเดิมที่เคยใช้
ในเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง ที่ผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะดื้อกับส่วนผสมในแต่ละประเภทของสินค้าเมื่อใช้ไปนานๆและซ้ำๆกันอยู่ตลอดเวลา
พวกจุดด่างดำคงเบื่อกับการกินส่วนผสมเดิมๆ ถ้าพวกมันพูดได้คงอยากจะบอกกับเจ้าของใบหน้าว่า “พี่ๆช่วยกรุณาให้พวกน้องหนูได้สัมผัสประสบการณ์ของรสชาติ (ส่วนผสม) ใหม่ๆหน่อยได้ไหม”
เชื่อไหมว่ามนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้ต่างเข้าข้างตัวเองกันทั้งนั้น
ไม่มีใครโทษหน้าตัวเองหรอก (ว่าจริงๆมันเริ่มด้านแล้วนะ)
จำเลยของสังคมเลยต้องตกไปเป็นผู้ประกอบการเจ้าของสินค้านั้นๆ
ผู้บริโภครายที่ผิดหวังกับใบหน้าของตัวเองว่าทำไมกระปุกที่ 4 กระปุกที่ 5 ถึงยังไม่สามารถทำให้หน้าตนกลับมีสภาพขาวใสได้
ในใจคงบ่นและสาปแช่งผู้ประกอบการว่า พอขายดีเลยลดคุณภาพ พอขายดีเลยเริ่มหยิ่ง พอขายดีเลยลืมบุญคุณของผู้บริโภคไปแล้วใช่ไหม
แบบนี้ไม่เสมอต้นเสมอปลาย
แบบนี้ไม่คงเส้นคงวา
วันรุ่งขึ้นก็เลยเอาสินค้าแบรนด์ดังกล่าวไปประจานต่อสังคมรอบข้างโดยผ่าน Web ผ่าน Blog ผ่าน Forward e-mail เป็นต้น
สุดท้ายผู้ประกอบการรายนี้ก็ต้องปิดตัวเองไปด้วยความไร้เดียงสาของผู้บริโภคที่เอาแต่ใจของตัวเองเป็นที่ตั้ง
เห็นไหมว่าความเสมอต้นเสมอปลายไม่ได้ก่อเกิดจากตัวสินค้าหรือบริการที่มาจากทางด้านของผู้ประกอบการเพียงฝ่ายเดียว
แต่คำๆนี้ได้ถูกสร้างให้เกิดเป็นความคาดหวังในใจของผู้บริโภคในอีกแง่มุมหนึ่ง
แค่ผู้ประกอบการมีความพยายามที่จะรักษาระดับของความเสมอต้นเสมอปลายในคุณภาพและประสิทธิภาพของตัวสินค้าหรือบริการก็น่าจะยากพออยู่แล้ว
โชคร้ายยังมาเจอกับความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีแต่จะมากขึ้นและมากขึ้น
ลองคิดดูว่าจะมีผู้ประกอบการที่ได้รับคำชมอย่างเป็นทางการจากผู้บริโภคมั้ยว่า ถ้าใบหน้าของเธอขาวใสสว่างขึ้นภายใน 3-4 วัน ที่ไม่ใช่ 3-4 สัปดาห์
อาจจะมีคนช่วยโฆษณาชื่นชมต่อใน Web Blog และส่งต่อเป็น Forward email เพียงเศษเสี้ยวของผู้บริโภคส่วนใหญ่
ผู้ประกอบการ “ทำเกินได้ แต่ห้ามทำขาด”
แค่ทำได้แบบพอดีๆยังต้องลุ้นกันตัวโก่ง
ผู้บริโภคจ่ายเงินได้เหมาะพอดีกับราคาสินค้าที่ตั้งไว้ แต่คงไม่มีใครจ่ายในราคาที่เกินกว่าราคาที่ติดไว้บนบรรจุภัณฑ์อย่างแน่นอน
ผมไม่เคยเห็นผู้บริโภคคนไหนบอกกับพ่อค้าแม่ขายว่าที่ลุงๆน้าๆติดราคาไว้ว่าส้มกิโลละ 50 บาท ผมจะจ่ายให้ลุงๆน้าๆ 70 บาทต่อกิโล
บ่อยครั้งจะเห็นแต่ผู้บริโภคขอให้พ่อค้าแม่ขายแถมอีกลูก 2 ลูกหรือไม่ก็ขอโลละ 40 บาทได้ไหม
มันแปลกดีนะ
และที่น่าเห็นใจที่สุดก็คือสายอาชีพที่ต้องซื้อ (ของชาวบ้าน) มาและขาย (ของชาวบ้าน) ไป
มีใครรับรองได้ไหมว่าผลส้มจากสวนอาทิตย์หน้าจะหวานฉ่ำเหมือนอาทิตย์นี้ที่ซื้อไปหรือน้ำมะพร้าวหอมจากสวนที่ไหนสักแห่ง อาทิตย์นี้จะหวานหอมจากการเก็บเกี่ยวในเดือนถัดไป เป็นต้น
พอเพียงในทรัพยากรที่มีอยู่ พอเพียงในงบประมาณที่มีอยู่ และพอเพียงในความทะเยอทะยานที่มีอยู่
แนวคิดและปรัชญาของการทำธุรกิจและสร้างแบรนด์ในยุคนี้และยุคหน้า มีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้ประกอบการต้องหันกลับมาทบทวนกับคำว่า “ความพอเพียง”
มีนักกลยุทธ์สร้างแบรนด์หลายท่านในวงการได้เขียนถึงและกล่าวถึงการทำธุรกิจบนพื้นฐานของความพอเพียงไปมากต่อมากแล้ว และทุกๆท่านก็ได้ให้ข้อคิดดีๆฝากให้พวกเราได้นำไปคิดและประยุกต์ใช้กันได้จริงๆในการประกอบธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจของตัวเองโดดเด่นและมีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ
ความพอเพียงคือยิ่งน้อยก็ยิ่งมาก
แต่ที่น่าสนใจกว่าคือธุรกิจจำเป็นต้องมีชีวิตที่ยืนยาว ไม่ใช่รวยกันแค่ปี 2 ปี แล้วต้องปิดกิจการลง
บางธุรกิจขายดิบขายดีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่สั้นมากๆแล้วสุดท้ายก็ไปไม่รอดเพราะอะไร
เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากความต้องการที่อยากได้มากๆในยอดขายและผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาในอนาคตอันใกล้
ความพอเพียงได้ถูกนำมาปฏิบัติใช้กับความจีรังยั่งยืนด้วย
แบบขอให้รักฉันน้อยๆก็ได้แต่ต้องรักฉันให้นานๆนะ
ธุรกิจไม่ควรอยู่แบบฉาบฉวยเพราะผู้ประกอบการจะสูญเสียจุดยืนของตัวเองที่จะนำมาสู่ความเสื่อมเสียชื่อเสียง
ผมเคยไปพักโรงแรม Boutique ชายทะเลที่หนึ่งมา และได้มีประสบการณ์บางอย่างที่อยากจะแบ่งปันบทเรียนนี้ให้อ่าน
ในช่วงแรกของการเปิดโรงแรม Boutique ชายทะเลแห่งนี้ ผู้คนต่างแย่งกันเข้าไปพัก ด้วยเหตุผลที่เป็นโรงแรมใหม่ เก๋ เท่ มีระดับ อยู่ในกระแสนิยม
เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีฝูงคนรุมกระหน่ำจองแล้วมีคิวต้องให้รอถึง 6-7 เดือนล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าพักได้จริง
1. พนักงานรับจองห้องพักต้องอยู่ในสภาพของแรงกดดันเนื่องด้วยมีกลุ่มลูกค้ารุมสอบถามข้อมูลต่างๆนานาเกี่ยวกับโรงแรมใน และขณะเดียวกันถูกรุมด่า ถูกรุมต่อว่า ว่าทำไมถึงต้องใช้เวลาหลายเดือนในการเข้าพัก ต่างคนก็ต่างคิดเอาเองว่า โรงแรมทำไมถึงหยิ่งนัก ไม่ต้อนรับคนไทยใช่ไหม เห็นฝรั่งเป็นพระเจ้าใช่มั้ย เป็นต้น
2. ถ้าใครโชคดีหน่อยมีโอกาสได้เข้าพักในทันทีก็จะเจอกับเหตุการณ์ของความชลมุนวุ่นวาย แขกต้องใช้เวลา Check-in นานกว่าปกติมาก พนักงานต้อนรับหน้าบูดหน้าเบี้ยว ชักสีหน้ากับลูกค้า ถามคำตอบคำ เมื่อ Check-in เสร็จต้องใช้เวลารอให้แม่บ้านทำความสะอาดห้องก่อน เพราะแขกก่อนหน้านี้เพิ่ง Check-out ออกไปหมายถึงความไม่เป็นมืออาชีพ
เมื่อเดินเข้าห้องพักก็เจอกับสภาพห้องพักที่ไม่เรียบร้อยเท่าไรนัก มีกลิ่นอับที่ยังไม่ได้ถูกขจัดทิ้งไป ก็เพราะต่างคนก็ต่างรีบเดินทางไปก่อนเวลา ด้วยความเห่อและความตื่นเต้น แต่ลืมไปว่าจริงๆแล้วตามกฎของโรงแรมแห่งนี้ เขาให้ Check-in ได้เวลาบ่าย 2 โมง
3. เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารเช้า แขกทุกคนต่างลุกขึ้นมาแย่งชิงที่นั่ง แย่งชิงอาหารที่เป็นเมนูพิเศษ มีราคาแพง สุดท้ายเมนูอาหารนั้นก็ต้องหมดไปในชั่วพริบตา คนที่เข้ามารับประทานอาหารในช่วงต่อไปต้องผิดหวังกับอาหารที่หมดไปก่อนหน้านี้ ทุกอย่างดูเหมือนการจลาจลหนีสงคราม
4. ราคาห้องพักช่วงเปิดตัวสูงจนใจหาย แต่แขกที่เข้าพักก็ให้อภัยเพราะทุกสิ่งทุกอย่างในวันนั้นถูกสร้างขึ้นในใจของทุกๆคนว่าเป็นโรงแรมที่อยู่ในกระแสนิยม มีห้องพักไม่มาก มีความเป็นส่วนตัว มีบริการเป็นเลิศ แต่พอหลังจากที่ Check – out ขณะขับรถกลับบ้านความรู้สึกในใจของลูกค้าต่อราคาห้องพักกลับแพงจนใจหายขึ้นมาทันที เมื่อเทียบกับประสบการณ์โดยรวมที่ได้รับกลับไปในขณะที่พำนักพักพิงอยู่ในโรงแรมแห่งนั้น
5. และอีกหลากหลายเหตุผลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งหายนะช่วงนั้น เช่นไม่มีคนรับโทรศัพท์ในแผนก room service ต้องแบกกระเป๋าเดินออกมา Check – out เอง แม่บ้านลืมเติมน้ำดื่มในตู้เย็นเป็นต้น
ก็เพราะว่าทุกคนที่เป็นพนักงานต่างพากันทำงานหนักจนตัวเป็น
เกลียว เวลาหายใจยังแทบไม่มีแล้วจะเอาเวลาไหนไปดูแลความเรียบร้อยให้ทั่วถึง
นี่คือความล้มเหลวของยิ่งมากก็ยิ่งน้อย
ก็น่าเห็นใจอยู่หรอก เพราะว่าใครจะเคยคิดที่จะจ้างพนักงานจำนวนเกินกว่าจำเป็น ยิ่งจ้างมากก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายมากเป็นเงาตามตัว เพราะเมื่อหลายเดือนผ่านไปจำนวนแขกที่เข้าพักก็น่าจะลดน้อยลงเป็นไปตามธรรมชาติของกระแส
แต่ผู้ประกอบการรายนี้ลืมไปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือความไม่เสมอต้นเสมอปลายที่จะทำลายชื่อเสียงของธุรกิจ
ที่สำคัญที่สุดในการทำการตลาดอันหนึ่งก็คือ
ทุกธุรกิจจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมี Repeat purchase หรือ Revisit เพื่อให้ได้ฐานของลูกค้าที่มั่นคงและอยู่กับธุรกิจไปได้อีกยาวนาน
การตลาดแบบ Word of Mouth และ Word of Mouse มีประสิทธิภาพมากกว่าการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ใช้เงินก็น้อยกว่ามหาศาล แล้วทำไมบางธุรกิจถึงยังได้จับตัวผู้บริโภคเป็นตัวประกันอยู่อีกหรือ
Categories: Articles Anything, BrandAnything |
Tags: Sohn Chongsrichan | No Comments
November 16th, 2010
เมื่อวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทางบริษัท SunGroup ได้จัด Workshop ขึ้นที่ KU Home มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยงานนี้ได้รวมทั้งแผนกการตลาด R&D ฝ่ายขายมาร่วมกันทำกิจกรรมทางการตลาดให้กับ SunGroup ดังที่เห็นในภาพทุกคน ทุกฝ่ายต่างยิ้มแย้มแจ่มใส สนุกสนานกับ Workshop ครั้งนี้ และรอยยิ้มนี้เองคือ “นวัตกรรม” ที่อาจารย์สรณ์ได้ย้ำกับพวกเราเสมอมา รอยยิ้มและเสียงหัวเราะจะสรรสร้างสิ่งดีๆให้กับทุกคน ทุกธุรกิจคะ

Categories: Gallery Anything, Seminar & Workshop Schedule |
Tags: SUNGROUP, สรณ์ จงศรีจันทร์ | No Comments
November 15th, 2010
ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมามีคนในหลากหลายอาชีพธุรกิจได้ตั้งคำถามกับผมที่ฟังดูแล้วจะมีประเด็นคล้ายๆกันคือ
“การสร้างแบรนด์ในอนาคตจะมีรูปแบบเป็นอย่างไร?”
ประสบการณ์ที่ผ่านมาหลายปีได้สอนให้ผมรู้ว่าการสร้างแบรนด์หรือการคงไว้ซึ่งความแข็งแกร่งและแตกต่างของธุรกิจในวันนี้ไปจนถึงอนาคตอันไม่ไกลจนเกินไป ควรจะมีแนวคิดบนพื้นฐานของกลยุทธ์เพียงไม่กี่ข้อดังต่อไปนี้
1. สั้น ตรง ชัด ลึก
การสร้างแบรนด์ไม่ได้อยู่บนมิติของความกว้าง (Breadth) หรือการ
แผ่กระจายของธุรกิจอีกต่อไป
การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงแคบ (Depth) เป็นกลยุทธ์ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคตที่กำลังเคลื่อนเข้ามาหา
เราจะเห็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ต่างๆในเชิงลึก(Depth) แบบที่เข้าไปทะลุทะลวงแต่ละประเภทธุรกิจอย่างเข้มข้น
เมื่อเช้าได้ดูข่าวเกี่ยวกับความสำเร็จของธุรกิจ SMEs รายหนึ่งในประเทศ ที่เคยเป็นเพียงแค่โรงงานผลิต (OEM) ให้กับแบรนด์ดังๆทั่วโลกในสินค้าประเภทกระเป๋าเดินทาง
จากที่เคยมีรูปร่างหน้าตาเป็นเพียงแค่ทรงสี่เหลี่ยม สีดำๆ เทาๆ หรืออาจจะมีสีสันในบางรุ่นให้เลือกบ้าง แต่ปัจจุบันโรงงานผลิตกระเป๋าเดินทางรายนี้ได้กลายสภาพธุรกิจของตัวเองจาก OEM มาเป็น OBM
จากกระเป๋าเดินทางที่เคยมีรูปร่างหน้าตาธรรมดาที่สุด ได้กลายพันธุ์มาเป็นกระเป๋าเดินทางที่แตกต่างสุดๆในท้องตลาด
โครงสร้างของรูปทรงกระเป๋าเดินทางของโรงงานแห่งนี้ยังคงเหมือนเดิมแต่บุคลิกที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ได้เป็นตัวบ่งบอกกลยุทธ์ Customization ที่ลูกค้าสามารถเปลี่ยนหน้ากากบนกระเป๋าให้เป็นลวดลายที่สะท้อนถึงบุคลิกและตัวตนของคนคนนั้นเช่น หวานแหวว เปรี้ยว คิกขุโนเนะ ดุดัน หรือแบบนักบริหาร ด้วยลวดลายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ลูกค้าได้สลับสับเปลี่ยนเอาเองตามใจชอบ
ผู้ประกอบการ SMEs รายนี้ได้อธิบายถึงแรงบันดาลใจที่ได้สร้างแนวคิดของสินค้าใหม่ขึ้นมาไว้อย่างหน้าสนใจ ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะไม่ได้เกี่ยวโยงกับประเด็น “สั้น ตรง ชัด ลึก” สักเท่าใดนัก แต่ก็มีข้อคิดในการสร้างแบรนด์ให้ได้คิดต่อยอด
ก. กระเป๋าเดินทางส่วนใหญ่ถูกผู้โดยสารจำนวนมากสลับสับเปลี่ยนเป็นอัตราที่สูงมากในแต่ละสนามบินทั่วโลก เนื่องด้วยความคล้ายคลึงกันของสินค้าประเภทนี้
เมื่อมีปัญหาก็ย่อมมีโอกาส
จาก Insight แบบนี้ที่ทุกๆคนเคยประสบมา เลยทำให้การเปิดตัว
ของกระเป๋าเดินทางแบบ Customization เป็นที่ต้องการอย่างสูงในกลุ่มเป้าหมาย ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่ในกลุ่มเป้าหมายชาวต่างชาติด้วย
ข. จากเหตุผลเบื้องต้น ผู้ประกอบการรายนี้จึงไม่ให้ใครจับโรงงานของเขาเป็นตัวประกันอีกต่อไป เขาได้เปลี่ยน Model จากเป็นเพียงผู้ผลิต (OEM) มาเป็นผู้สร้างและทำตลาดขายตรงสู่ลูกค้า (OBM)
แน่นอนที่สุดผลกำไรมีมากกว่า แรงกดดันที่ถูกผู้ว่าจ้างโขกสับอยู่ทุกวี่ทุกวันก็ลดน้อยลงไป ไม่ต้องกลัวว่าพรุ่งนี้จะมี Order เข้ามาแบบรอกันไปวันๆ กินน้ำใต้ศอก
เห็นด้วยกับแนวคิด “ยิ่งน้อยก็ยิ่งมากไหมครับ?”
ก็เพราะโรงงานแห่งนี้ตั้งใจที่จะมุ่งเน้นการทำตลาดเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่แคบลงไม่ใช่ Mass Market อีกต่อไป จึงทำให้เขากลับได้ลูกค้ามากรายขึ้น สืบเนื่องจากการทำการตลาดที่แคบและลึกกว่าที่เคยเป็น ยิ่งน้อยก็เลยเป็นยิ่งมาก ฉันใดก็ฉันนั้น
แนวคิด “สั้น ตรง ชัด ลึก” ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการวาง Positioning ของแบรนด์ในธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่เราทุกคนต่างก็ยอมรับ
การวาง Positioning ที่ดีและมีประสิทธิภาพเปรียบเสมือนกับการสร้างตัวตนและจิตวิญญาณที่ชัดเจนให้กับแบรนด์
ใครๆก็รู้ว่าชาเขียวโออิชิคือต้นตำรับชาเขียวแท้จากประเทศญี่ปุ่น
กิจกรรมการตลาดของโออิชิถูกหล่อหลอมเป็นปึกแผ่นที่เกี่ยวโยงไปในทิศทางเดียวกัน บน Positioning ของต้นตำรับชาเขียวแท้จากประเทศญี่ปุ่น
การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การตลาดถูกสร้างขึ้นบนแนวคิดที่อิงไปยังประเทศญี่ปุ่นด้วยเหตุผลที่ว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นจุดกำเนิดของชาเขียวที่ดีและมีคุณภาพในความเข้าใจและทัศนคติของผู้บริโภคมาอย่างตลอด
แคมเปญโปรโมชั่นของโออิชิไปแต่ตัวทัวร์ยกแก๊งค์ครั้งล่าสุดก็เกี่ยวเนื่องกับการไปเที่ยวพร้อมเงินช้อปปิ้ง 1 ล้านเยนที่ประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน
แนวความคิด “สั้น ตรง ชัด ลึก” ของโออิชิ ได้ถูกนำเสนอผ่านการสื่อสารแบบเข้าใจได้ง่ายๆไม่ต้องตีลังกาแปลหรือถอดรหัสอะไรกันให้ปวดหัว แม้กระทั่งคนแก่ คนเฒ่า ลูกเด็กเล็กแดงยังเข้าใจ แบบดูแล้วก็ขำกลิ้งไปตามๆกัน พูดกันสนั่นเมือง
นี่แหละคือพลังของ “สั้น ตรง ชัด ลึก” ที่ตรงกันข้ามกับการวาง Positioning และการวางแนวความคิดของการสื่อสารที่สลับซับซ้อน ยุ่งยากวุ่นวาย ท้ายสุดคนที่ได้รับข่าวสารนั้นๆก็จะงงไปตามๆกัน
ความล้มเหลวของแบรนด์บางตัวในประเทศไทยมาจากความไม่ชัดเจนในตัวตนและจิตวิญญาณ
แล้วเมื่อถูกนำออกมาถ่ายทอดต่อในชิ้นงานการสื่อสารก็จะพบกับความด้อยประสิทธิภาพ ด้อยพลังและด้อยความโดดเด่นจนกลุ่มเป้าหมายต้องเหลียวหลังให้
ยิ่งมากก็ยิ่งน้อยเพราะคงมีน้อยคนจริงๆที่ให้ความสนใจ ความสำคัญต่อแบรนด์นั้นๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันดูเยอะแยะเต็มไปหมดไม่รู้ว่าจะให้จำอะไรที่แบรนด์ๆนั้นต้องการจะบอก
สัจธรรมมีอยู่ว่าเราซื้อเครื่องรับทีวีเพื่อมาชมข่าว ชมละคร หรือชมความบันเทิงต่างๆ ไม่มีใครเสียสติซื้อเครื่องรับทีวีเพื่อมาชม สปอตโฆษณาของสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการทั้งหลาย
เมื่อเป็นเช่นนี้ แนวความคิดของการสื่อสารจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำหน้าที่เบียดให้แบรนด์ของตัวเองโดดเด่นขึ้นมาจากการถูกหลายสิบ หลายร้อยแบรนด์ทับถมกันอยู่ในช่วงโฆษณาแต่ละช่วงของวัน
ในแต่ละวันมีโฆษณาทางทีวีมากกว่า 2,000 สปอต
และแบรนด์แต่ละแบรนด์ก็ไม่ได้แข่งขันกับคู่ต่อสู้ของตนใน Category นั้น เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องทำหน้าที่ปากกัด เท้าถีบกับสปอตโฆษณาของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ใน Category อื่นด้วย
จากการทำวิจัยทุกครั้งในแวดวงสื่อสารมวลชน โดยสถาบันวิจัยมืออาชีพหรือบริษัท Media ใหญ่ๆ เราจะพบว่าโฆษณาของแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับ ที่อยู่ใน Top 10 ในแต่ละยุคในแต่ละสมัยคือแบรนด์ที่มีความชัดเจนในตัวตนและจิตวิญญาณของตัวเอง ตลอดจนการสื่อสารที่ “สั้น ตรง ชัด ลึก”
โฆษณาที่มีความยาว (45 หรือ 60 วินาที) ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้เปรียบโฆษณาที่มีความสั้นกว่า ( 15 วินาที) เป็นต้น
ปัจจุบันโฆษณาชุดที่มีความยาว 45, 60 หรือ 90 วินาที เริ่มหายจากหน้าจอทีวี
เป็นไปได้ที่งบโฆษณาของผู้ประกอบการน้อยลง
เป็นไปได้ที่กลุ่มเป้าหมายมีสมาธิสั้นลง อะไรที่ต้องเสียเวลาไปจดไปจ่ออาจสร้างความรำคาญใจให้กับกลุ่มเป้าหมายก็เป็นได้
ถ้ายังมีใครจำได้เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว มีโฆษณาเหล้ายี่ห้อหนึ่งที่มีดาราหนุ่มฮ่องกงเป็นตัวแสดงนำในรูปแบบของมิวสิควีดีโอความยาวประมาณ 3-4 นาทีประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ด้วยแนวคิดที่แตกต่าง โดนใจกลุ่มเป้าหมายสุดๆ เป็นที่กล่าวถึงกันในวงการตลาด วงการโฆษณากันอย่างกว้างขวางว่า โฆษณาชิ้นนี้ได้ถูกจัดอยู่ในระดับชั้นเซียนไม่มีโฆษณาชิ้นไหนในประวัติศาสตร์ประเทศไทยที่จะลบสถิติความยาวหนังโฆษณาชุดนี้ได้
ในวันนี้เราจะเห็นหนังโฆษณาที่มีความยาวแค่ 15 วินาทีหรือน้อยกว่านั้นที่สามารถตรึงให้กลุ่มเป้าหมายหยุดและสนใจกับสิ่งที่แบรนด์ๆนั้นต้องการจะสื่อออกไป
ผมชอบโฆษณาที่สั้นเอามากๆ แต่เต็มอิ่มไปด้วยพลังแห่งการดึงดูด ของบริษัทสินมั่นคงประกันภัย ที่ต้องการสื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ว่าถ้าขับน้อยเบี้ยประกันก็น้อยตาม ชัดเจนมากและเข้าใจได้ง่ายในการวางแนวคิดของงานโฆษณาที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความยาวของหนังโฆษณาอีกต่อไป
การวางกลยุทธ์แบบน้อยๆแต่ได้ผลลัพธ์มากๆทำให้ผู้ประกอบการเห็นถึงทิศทางในการทำธุรกิจที่ชัดเจนมากขึ้น
เคยมีคนรุ่นก่อนๆได้สอนผมว่า ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก
ใครมีเงินมากก็ย่อมชนะคนที่มีเงินน้อย
แต่ผมกลับไม่ค่อยจะเห็นด้วยสักเท่าใด
มีแบรนด์ที่ทุ่มงบการตลาดอย่างมหาศาลแบบให้เราอิจฉาตาร้อนอยู่มากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถครอบครองตำแหน่งในเชิงส่วนแบ่งการตลาด (Share-of-Market) หรือส่วนแบ่งในใจของผู้บริโภคได้ (Share-of-Mind)
ถ้ามาลองตั้งสมการกันดูเราจะเห็นว่าแบรนด์เล็กๆที่ใช้งบไม่มากจนเกินไป ก็สามารถครอบครองส่วนแบ่งการตลาดและส่วนแบ่งในใจของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
มีผลสำรวจจากหลายสำนักอีกเช่นเดียวกันที่ตอกย้ำแนวคิด ยิ่งน้อยก็ยิ่งมาก ว่าแบรนด์ที่ติดอยู่ในอันดับต้นๆของโลกหรือในประเทศไทยก็ดี บนพื้นฐานของความพึงพอใจต่อแบรนด์หรือแบรนด์ในใจของผู้บริโภค ส่วนมากก็ตกเป็นของมวยรองแทบทั้งสิ้น
มวยรองย่อมได้รับความเห็นใจและแรงสนับสนุนจากคนรอบข้างอยู่เสมอ และนี่ก็เป็นเหตุผลหลักที่ทำไมคนจะลุกขึ้นมาเชียร์แบรนด์ที่เป็นมวยรองของพวกเขา
แบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกในธุรกิจรถยนต์ ธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจสายการบิน และอื่นๆอีกมากมาย ในหลากหลายประเภทธุรกิจที่เคยใช้งบกันอย่างมหาศาล แต่กลับต้องดิ้นหนีเอาตัวรอดในวันนี้ เป็นหลักฐานทางสังคมที่ดีอีกชิ้นหนึ่งที่เราทุกคนควรจะได้เรียนรู้
วลีที่ว่า “Size doesn matter” หรือยิ่งใหญ่ก็ยิ่งได้เปรียบดูเหมือนจะใช้ไม่ค่อยได้แล้วต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน
“Small is beautiful” น่าจะเป็นคำที่ดูเข้ายุคเข้าสมัยมากกว่า
(โปรดติดตามตอนจบในฉบับหน้าครับ)
Categories: Articles Anything |
Tags: Add new tag, สรณ์ จงศรีจันทร์ | No Comments
November 11th, 2010
ตามที่ทุกท่านทราบกันดีว่าตอนนี้ว่าหลายจังหวัดในประเทศของเราประสบกับอุทกภัยน้ำท่วม ทั้งภาคทางภาคอีสาน ภาคกลาง และขณะนี้ได้ลามไปถึงภาคใต้
ทั้งนี้อาจารย์สรณ์ ได้ร่วมบริจาคข้าวสารจำนวน 1,000 กิโลกรัมให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นับว่าเป็นอีกครั้งที่ทางอาจารย์สรณ์และแบรนด์เอนี่ติงได้ทำสิ่งดีๆเพื่อสังคมนะคะ
พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอุทกภัยน้ำท่วมในครั้งนี้จะบรรเทาเบาบางไปในไม่ช้านะคะ
อนุโมธนาบุญกับทุกๆท่านด้วยคะ สาธุ
Categories: Uncategorized |
No Comments
November 2nd, 2010
ภาพ Workshop ของบริษัท พันธวณิช ณ จุลดิส เขาใหญ่ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2553 เป็นการรวมตัวของพนักงานบริษัทกว่า 160 คน เพื่อเข้ามาร่วมรับฟังการบรรยาย พร้อมทั้งทำกิจกรรมต่างๆที่ทางอาจารย์สรณ์ได้จัดเตรียมไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังทุกท่านเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ตาม
นับเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเศรษฐกิจ บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ผู้ประกอบการ หรือแม้แต่พนักงานเอง ต้องมีความพร้อมอยู่เสมอ และต้องฝึกฝนตนเอง ไม่ให้อยู่ใน Comfort Zone นานเกินไป จนลืมตัว หลงระเริงกับความสบาย

เป็นอีกหนึ่ง Workshop ที่ทางอาจารย์สรณ์ ได้กระตุกทุกท่านออกจากห้วงแห่ง Comfort Zone อยากให้ผู้ประกอบการทุกท่านตระหนักถึงสิ่งนี้ไว้เสมอนะคะ จะได้ไม่ผิดพลาดและล้มเหลว จะได้มีแต่โชคดีมีชัยตลอดไปค่ะ ^^
Categories: Gallery Anything, Seminar & Workshop Schedule |
No Comments
November 2nd, 2010
เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้จัดการประกวด Character โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อสื่อความหมายการขับเคลื่อนพันธสัญญาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล โดยคุณสรณ์ จงศรีจันทร์ ได้รับเกียรติเป็นกรรมการผู้ตัดสินผลงานในครั้งนี้ด้วยคะ

นี่คือตัวอย่างผลงานที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ ในการประกวดครั้งนี้

ต้องขอแสดงความยินดีแด่ผู้ชนะเลิศการประกวด Character ในครั้งนี้นะคะ งานประกวดนี้ได้ทำให้เราได้เห็นถึงความสามารถของเด็กรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และความตั้งใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชนไทยค่ะ ^^
Categories: Gallery Anything |
Tags: Sohn Chongsrichan | No Comments