RIGID FOAM CO.,LTD BRAND WORKSHOP

June 30th, 2014

ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ และทีมงานจัด BRAND WORKSHOP ครั้งที่ 1 ให้กับเจ้าของและผู้บริหารบริษัท RIGID FOAM จำกัด เพื่อวางกลยุทธ์การสร้างแบรนด์และการตลาด เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2557 ที่ผ่านมา

Categories: Uncategorized | No Comments

The Power of Brand Seminar

June 30th, 2014

ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ได้รับเกียรติไปบรรยายเกี่ยวกับ “แบรนด์นั้นสำคัญไฉน” (The Power of Brand Seminar) ที่ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศใน สวทช. ให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าของ สวทช. ตลอดจนผู้สนใจจากหลากหลายประเภทธุรกิจ เมือ่วันที่ 24 มิ.ย. 2557

Categories: Uncategorized | No Comments

The Symphony of Inspiration

June 23rd, 2014

ดร.สรณ์ และคุณอังษณา จงศรีจันทร์ ได้รับเกียรติไปชม The Symphony of Inspiration, Power, Passion & Prosperity โดย Dr. Mel Gill สุดยอดแห่งนักสร้างแรงบันดาลใจ ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2557 ที่ผ่านมา

Categories: Uncategorized | No Comments

Ministry of Brand Management

June 12th, 2014

ประเทศไทยมีกระทรวงทั้งหมด 19 กระทรวง ที่มีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันไปในการขับเคลื่อนประเทศชาติในภาคธุรกิจที่หลากหลาย รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือดูแลและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงการกินดี อยู่ดีของภาคประชาชนโดยรวม

มีใครเคยคิดไหมว่า ผู้บริโภคในแต่ละวันมีปฏิสัมพันธ์กับสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวพวกเขาในรูปแบบของแบรนด์มากน้อยเพียงใด

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า แบรนด์เป็นเพียงแค่โลโก้ที่สวย สะดุดตา หรือหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่าง ไม่เหมือนใคร

แบรนด์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ดีๆ ที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้า บริการ พนักงานในองค์กร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือกิจกรรมสังคมจากแต่ละองค์กร เป็นต้น

ผมจึงอยากให้ประเทศไทยมีกระทรวงบริหารจัดการแบรนด์ (Ministry of Brand Management) เพื่อนำพาสิ่งที่ดีในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต บนความสามารถในการแข่งขัน ในตลาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างยั่งยืน โดยจะต้องไม่คิดแค่การแข่งขันในวงแคบ อย่างในประเทศไทยเท่านั้น

ลองย้อนกลับมาดูในธุรกิจที่ปรึกษา การบริหารจัดการแบรนด์อย่าง Brand Agency หรือ เอเจนซี่โฆษณา ที่มีหน่วยงาน Strategic Planning และ Consumer Insights

บริษัทเหล่านี้มีบทบาทและหน้าที่ในการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้อย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพ เพราะคนในสายอาชีพนี้ เขามีความรู้ ความสามารถและ
ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปั้นดินให้เป็นดาว จากของที่ธรรมดาที่สุด สู่ของที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่า สร้างมูลค่ามากมายมหาศาลให้สินค้าและบริการในแต่ละอุตสาหกรรม

อย่างที่เราทราบกัน แบรนด์เป็นพลังที่มีความสามารถในการแยกและทำให้สินค้าหรือบริการตัวหนึ่งแตกต่างจากอีกตัวหนึ่งได้

ทำไมผู้บริโภคถึงเลือกโทรศัพท์มือถือแบรนด์หนึ่งที่อาจมี Feature และ Function เหมือนกับอีกแบรนด์หนึ่ง

ที่สำคัญไปกว่า แบรนด์มีพลังที่สามารถสร้างมูลค่าของสินค้าตัวหนึ่งให้ได้ราคามากกว่าแบรนด์อีกตัวหนึ่ง

ทำไมผู้บริโภคถึงยอมจ่ายเงินซื้อสินค้าชนิดหนึ่งในราคาที่แพงกว่าสินค้าประเภทเดียวกัน โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นประเภท Commodity อย่างเช่น ข้าว น้ำตาล หรือน้ำดื่ม

กระทรวงบริหารจัดการแบรนด์ (Ministry of Brand Management) ควรจะมีบทบาทและหน้าที่ในการจัดการภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีรวมไปถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ทุกคนในสภา ในฐานะที่ถูกมองว่าเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนประเทศชาติที่ใหญ่ที่สุด

กระทรวงบริหารจัดการแบรนด์ (Ministry of Brand Management) จะมีบทบาทและหน้าที่ในการช่วยลบล้างภาพลักษณ์ที่ประชาชนส่วนใหญ่มักจะมองบุคคลเหล่านี้ว่ามีแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว เล่นพรรค เล่นพวกหรือแม้กระทั่งดีแต่พูด

การลบล้างภาพลักษณ์คงไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากไปกว่าการที่จะทำอย่างไรให้บุคคลเหล่านี้มีทัศนคติ นิสัยใจคอและวิธีคิดเป็นที่ยอมรับต่อประชาชน

คล้ายๆกับการสร้างแบรนด์ที่เป็นสินค้าหรือบริการ คุณไม่สามารถจะหลอกผู้บริโภคได้ว่าโลชั่นทาหน้าของคุณสามารถทำให้หน้าที่หมองคล้ำของผู้บริโภคขาวได้ในเวลา 7 วัน หากสินค้าตัวนั้นไม่มีประสิทธิภาพที่ดี โดดเด่นและแตกต่างจริงๆ

การสร้างแบรนด์ไม่ได้เป็นแค่การสร้างภาพอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ

การสร้างภาพคือการทำอะไรก็ได้ ที่เป็นเพียงแค่เปลือกนอกเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจได้

ผมมองว่ากระทรวงบริหารจัดการแบรนด์ (Ministry of Brand Management) ควรจะมีบทบาทและหน้าที่ในการนำสินค้าและบริการดีๆจากความมุ่งมั่นตั้งใจของชาว SME ออกไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ ความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรีต่อผู้ประกอบการ SME ที่มีสินค้าและบริการที่ดีๆ แต่ถูกซ่อนไว้ด้วยความไม่มีทิศทาง ไม่มีจุดยืนในการทำธุรกิจ

ผมไม่ได้มองข้ามความสำคัญของกระทรวงหรือกรม กอง ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์ให้กับธุรกิจของผู้ประกอบการ SME ที่มีอยู่หลากหลายหน่วยงานในปัจจุบัน

มันจะดีกว่าไหมที่ผู้ประกอบการสามารถเดินมาที่ที่เดียวแล้วสามารถได้รับบริการแบบ One Stop Shop Concept จาก Total Solution ที่กระทรวงบริหารจัดการแบรนด์ (Ministry of Brand Management) จะดูแลให้ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำไปสู่กระบวนการปลายน้ำ

Model จะเป็นเหมือน Brand Consulting Agency และ Creative Agency ที่อยู่ในรูปแบบกระทรวง มีหน่วยงานเฉพาะเจาะจงในการหา Insights ของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์และพัฒนาสินค้าและบริการในแต่ละประเภทให้มีทิศทางและจุดยืนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

จากนั้นก็นำข้อมูลที่มีอยู่เข้าสู่กระบวนการตั้งชื่อ ออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์อย่างมีระบบ

มีการตั้งชื่อใหม่ให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจสินค้าและบริการที่ไม่สร้างความประหลาดใจและงุนงงให้ผู้บริโภคในต่างประเทศ

เช่น พรทิพย์ PORN TIP ที่มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า การแนะนำสิ่งที่เป็นเรื่องลามก

หรือ Nok Food ที่มีการอ่านออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า No-K (โน-เค) Food แปลว่า อาหารที่แย่มากๆ

หรือชื่อภาษาไทยบางชื่อที่มีความหมายหยาบคาย ไม่เป็นสิริมงคลในบางประเทศ เช่นในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ฮ่องกง หรือ ฟิลิปปินส์ (ขอสงวนไม่เอ่ยถึงด้วยมารยาท)

ถ้าผู้อ่านเคยเดินทางไปหลายๆประเทศที่พัฒนาแล้ว คุณจะเห็นว่าในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าปลีกที่มีสินค้าจากประเทศไทยตั้งวางขายอยู่บนชั้นวางสินค้า สินค้าของเราจะขาดความโดดเด่นในรูปแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์ สู้คู่แข่งจากหลายๆประเทศแทบจะไม่ได้เลย

เพราะอะไร?

ข้อแรกคือ คนทำงานด้านออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่ผมเคยเห็นในบางหน่วยงานไม่มีประสบการณ์ ส่วนใหญ่เป็นเด็กเพิ่งจบมารับจ๊อบ ขาดความรู้ความเข้าใจต่อหลักการและแนวคิดของการดีไซน์ ไม่เคยมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศเพื่อดูสภาพของการแข่งขันในตลาดที่พัฒนาไปไกลมากกว่าประเทศไทย

ถัดมาคือเอาประหยัดเข้าว่า ผมเห็นใจผู้ประกอบการที่มีเงินทุนน้อยกว่าบริษัทใหญ่ๆ ที่เป็นของคนไทยหรือต่างประเทศที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์

เมื่อใดที่มีการใช้มืออาชีพเข้ามาทำงาน เมื่อนั้นก็ย่อมมีคำว่า “ราคา” เข้ามาเกี่ยวข้อง

ราคาเป็นปัจจัยที่คอยบั่นทอนความกล้าของผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่

ในความเป็นจริงสิ่งที่มีราคาถูก ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการจะสามารถประหยัดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า

ในทางตรงกันข้าม หากผู้ประกอบการมีหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างและโดดเด่นด้วยต้นทุนที่อาจจะสูงขึ้นอีกหน่อย ในระยะยาวมันคือการลงทุนที่ดีกว่าไม่ใช่หรือ

Unseen is Unsold คือแนวคิดที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้กับการตลาดสมัยใหม่

เมื่อสินค้าที่อยู่ในร้านไม่มีใครเห็น ไม่มีใครมองเพราะหีบห่อบรรจุภัณฑ์ไม่สวยไม่โดดเด่น ไม่สะดุดตาผู้บริโภคที่เดินผ่านไปมาในร้านก็ไม่มีความสนใจที่อยากจะเหลียวมอง

สุดท้ายสินค้าขายไม่ได้แล้วมันจะคุ้มไหมกับการลงทุนครั้งแรกที่อยู่บนพื้นฐานของราคาที่ต้องถูกที่สุดเพียงอย่างเดียว

ในภาคปฏิบัติ งบประมาณในแต่ละปีที่ถูกจัดไปให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์ในธุรกิจ SME มีมากพอสมควร มากพอที่จะทำให้ผู้ประกอบการ SME ไม่จำเป็นต้องควักเงินจากกระเป๋าตัวเองออกมาใช้ด้วยซ้ำไป

เราต้องเข้าใจว่าการสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนในตลาดต่างประเทศไม่ได้หมายถึงการทำกิจกรรมแบบ Exhibition หรือ Road Show ในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น

Exhibition หรือ Road Show เป็นเครื่องมือในกระบวนการท้ายๆในการนำแบรนด์ไป “พบกับกลุ่มเป้าหมาย”

ผมได้พบกับความล้มเหลวในหลายธุรกิจของ SME ที่เสียเงินจองบูธและเสียเวลาไปกับการออกบูธในต่างประเทศ กับบางหน่วยงานราชการ ผลที่ได้กลับมาคือไม่มีคำสั่งซื้อจากกลุ่มเป้าหมายในประเทศนั้นๆ

จะโทษหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนนอกจะรู้ดีไปหมดทุกเรื่องเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ หรือแม้กระทั่งกลยุทธ์ ที่มาและที่ไปของสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการ SME ที่มีจำนวนเป็นร้อยเป็นพันที่หน่วยงานเหล่านี้ต้องดูแลอยู่

ทุกอย่างต้องมีจุดเริ่มต้นในตัวตนและการวางตำแหน่งของสินค้าหรือบริการที่ชัดเจนและแตกต่าง

บ่อยครั้งผู้ประกอบการจะบอกว่าสินค้าของเขาดีสุดๆ ซึ่งผมก็ไม่เถียงเพราะว่าสินค้าของเขาถูกจัดอยู่ในระดับดีสุดๆจริงๆ

นอกเหนือจากกระบวนการต้นน้ำแล้ว เรายังต้องถอยกลับมาดูแลให้ความสำคัญกระบวนการปลายน้ำด้วย

ในที่นี้หมายถึง เราจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าและผู้บริโภคที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นได้อย่างไร

เราไม่ควรปล่อยให้แบรนด์ถูกทอดทิ้ง เมื่อแบรนด์มีโอกาสเติบโตในตลาดต่างประเทศ

เป็นไปได้ยากที่ผู้ประกอบการจะใช้เวลากินอยู่กับแบรนด์ในต่างประเทศที่ตนได้สร้างไว้

แล้วใครที่จะทำหน้าที่เหล่านี้

ผมขอให้ลองทบทวนอีกทีว่า กระทรวงบริหารจัดการแบรนด์ (Ministry of Brand Management) จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการทั้งหลายในหลายๆประเทศทั่วโลก

คล้ายๆกับการมีตัวแทนของ Brand Agency A, B, C ที่มีออฟฟิศอยู่ตามเมื่องใหญ่ๆทั่วโลก มีหน่วยงานวางแผนกลยุทธ์ ออกแบบหีบห่อ สร้างงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ไปจนถึง การทำวิจัยแบบ Post Tracking ว่าแบรนด์ของผู้ประกอบการมีสุขภาพอยู่ในระดับดีมากหรือกำลังป่วย เพื่อการขับเคลื่อนแบรนด์ไทยสู่แบรนด์สากลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและศักดิ์ศรีเทียบชั้นแบรนด์ระดับโลก

ผมเชื่อเสมอว่าสินค้าและบริการจากประเทศไทยมีความโดดเด่น และแตกต่าง

ผมขอเป็นกำลังใจให้ครับ

Categories: Articles Anything, BrandAnything | No Comments

SUNGROUP ดูงาน ณ ประเทศเกาหลี

June 10th, 2014

ดร.สรณ์ – อังษณา จงศรีจันทร์ ได้รับเกียรติจากเจ้าของ ผู้บริหารระดับสูงบริษัท SUNGROUP ให้ร่วมเดินทางไปดูงานที่ประเทศเกาหลี ระว่างวันที่ 27 พ.ค – 1 มิ.ย. 2557 ที่ผ่านมาคะ

Categories: Uncategorized | No Comments

Duck King Workshop

June 5th, 2014

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2557 การทำ Workshop สำหรับการเปิดตัวสินค้าใหม่ครั้งที่ 3 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมกับรับประทานอาหารเมนูเป็ดที่สุดยอดแห่งความอร่อย ;)

Categories: Uncategorized | No Comments