SIAM MUSIC YAMAHA – ART OF THINKING

December 24th, 2013

SIAM MUSIC YAMAHA ได้เรียนเชิญ ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ให้จัดทำสัมมนา workshop สำหรับพนักงานของ SIAM MUSIC YAMAHA ในหัวข้อ Art of Thinking หรือ ศิลปะการคิด เมื่อวันที่ 27-28 พ.ย. ที่ผ่านมา ณ โรงแรม G HuaHin

นับว่า Art of Thinking หรือ ศิลปะการคิด เป็นอีกศาสตร์ที่เราหลายๆคนมองข้ามถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิด โดยเฉพาะการคิดบวก รับรองได้ว่าหลังจากการสัมมนาครั้งนี้พนักงานของ SIAM MUSIC YAMAHA จะได้เปลี่ยนวิธีคิด เพื่อความแตกต่าง และเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นทั้งกับตัวผู้คิดและสิ่งที่คิดด้วย :)

Categories: Uncategorized | No Comments

K BANK & BENZ SEMINAR

December 24th, 2013

K BANK & BENZ ได้ร่วมจัดสัมมนาผู้ประกอบการธุรกิจ SME ในหัวข้อ “แหกกฏ SME ตีให้ดังสู่เวทีโลก” เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2556 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นอีกงานหนึ่งที่ทาง KBANK ได้จัดขึ้นเพื่อผู้ประกอบการ ลูกค้าของทางธนาคารให้ได้ประโยชน์นำไปใช้ในการบริหารจัดการแบรนด์ได้ดีมากยิ่งขึ้นไป อีกทั้งยังเป็นการจุดประกายให้ผู้ประกอบการหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์อีกด้วย

Categories: Uncategorized | No Comments

JIB BRAND STRATEGY WORKSHOP

December 24th, 2013

ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ได้จัดทำ workshop สำหรับผู้ประกอบการแบรนด์ JIB บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ IT โดยงานครั้งนี้ได้จัดขึ้นวันที่ 23 พ.ย. 2556 ที่ผ่านมา ณ โรงแรม เอเชีย แอร์พอร์ต ภายใต้ชื่อว่า JIB BRAND STRATEGY WORKSHOP

Categories: Uncategorized | No Comments

G-Able Brand Orchestration Workshop

December 24th, 2013

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ได้จัดทำ G-Able Brand Orchestration Workshop ที่ Chatrium Residence Sathorn โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 40 คน ทุกท่านต่างให้ความสนใจ ตั้งอกตั้งใจฟังดร.สรณ์เป็นอย่างมาก :) ต้องได้ไอเดียดีๆกลับบ้านไปแย่างแน่นอนคะ

Categories: Uncategorized | No Comments

ข่มขู่ คุกคาม…หลอกล่อ เย้ายวน

December 9th, 2013

ในสมัยที่คุณกำลังจีบแฟนคนที่น่ารักที่สุดของคุณในวันนั้น คุณใช้คำพูดประมาณไหนในการเกี้ยวพาราศี

มีใครที่พบรักกันในวันแรก แล้วก็ขอคนรักแต่งงาน โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาจีบกันเลย มีบ้างหรือเปล่า

กว่าจะได้ใครมาเป็นคู่ชีวิตสักคน (ที่รักกันอย่างยืนยาว) คุณคงต้องเสียเวลาไปไม่มากก็น้อย ที่จะต้องนัดแนะกันออกไปเที่ยว ไปกิน ออกไปดูหนัง ออกไปฟังเพลง

ในระหว่างที่คุณใช้เวลากับคนที่คุณรัก เชื่อได้เลยว่าคุณมีเรื่องราวหลายร้อย หลายพันเรื่องที่จะเล่าให้คนที่คุณรักฟัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คุณประทับใจที่สุด เรื่องที่คุณอับอายขายหน้ามากที่สุด หรือแม้กระทั่งเรื่องที่ทำให้คุณปวดร้าว เศร้าโศกเสียใจมากที่สุด

และผมก็เชื่อว่าคนที่คุณกำลังเล่าเรื่องราวเหล่านั้นให้เขาฟัง เขาก็อดทนตั้งใจ เต็มใจที่จะฟังเรื่องอะไรก็ไม่รู้ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับตัวเขาหรืออาจจะไม่เกี่ยวข้องกับตัวเขา

ถ้าเขายังมีสมาธิและความอดทนที่จะฟังเรื่องทุกอย่างจากคุณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวอะไรก็ตาม สถานภาพของคนคนนี้น่าจะเป็นคนที่ยังมีความรัก ความศรัทธาและความไว้เนื้อเชื่อใจในตัวคุณอยู่ไม่มากก็น้อย

คนคนนี้ในบริบทของการตลาดเขาเรียกว่า ผู้จงรักภักดีหรือสาวก

อย่างนี้มีที่ไหน ไม่ว่าคุณจะเล่าอะไรให้เขาฟัง เขาก็มีความสนอกสนใจ มีความอดทนและความตั้งใจที่จะฟังคุณทุกๆเรื่อง

สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไป คนคนนี้ก็ได้กลายสภาพมาเป็นสามีหรือภรรยาที่คุณภูมิอกภูมิใจใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขตลอดรอดฝั่ง

แปลกดีที่คนสองคน ต่างพ่อ ต่างแม่ ต่างภูมิหลัง ต่างความคิดกัน ได้ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน

ระหว่างเส้นทางของความรักก็มีการกระทบกระทั่งกันบ้างเหมือนลิ้นกับฟันแต่สุดท้ายคนทั้งสองต่างก็ให้อภัยกันและกัน

ลองย้อนกลับไปมองในสภาพความเป็นจริง

คนที่รักกันและเข้าใจกันต่างล้วนมีหลักการที่ใช้ร่วมกันคือ ชอบ รัก เห็นใจ เชื่อใจ ไว้ใจ ศรัทธา และในบางโอกาสก็มีความสงสารเข้ามาเกี่ยวข้อง

จริงไหมที่ผู้บริโภคไม่มากก็น้อยมีหลักการเดียวกันกับการใช้ชีวิตร่วมกันแบบสามี ภรรยา

ผมไม่เคยเห็นการใช้ชีวิตคู่ที่ราบรื่นจากการข่มขู่ คุกคามเลยแม้แต่คู่เดียว

ถ้าเป็นเช่นนี้มันไปกันไม่ยืด ไม่ยาว เดี๋ยวก็ต้องเลิกรากันไป

สู้มาเป็นกิ๊กกันเล่นๆ ยังสนุกเสียกว่า แบบไม่ต้องมีภาระผูกพัน

เฉกเช่นเดียวกับการสร้างแบรนด์ในยุคนี้ คุณไม่สามารถข่มขู่ คุกคาม ผู้บริโภคได้อีกต่อไป

การข่มขู่ คุกคาม ในการสร้างแบรนด์หมายถึงผู้ประกอบการไม่เคารพในตัวผู้บริโภค

ผู้ประกอบการไม่ได้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค นึกอยากจะผลิตอะไรออกมาก็ทำตามอำเภอใจมากกว่าที่จะเอาผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง

ผู้ประกอบการไม่ได้เคารพในสิทธิ์ของผู้บริโภค โดยไม่ให้ความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค เช่น นึกอยากจะส่งข้อความทาง SMS ก็ส่งเข้ามือถือของผู้บริโภครายนั้นๆ แบบกระหน่ำส่งกันแบบวันต่อวัน

ผู้ประกอบการไม่ได้คิดแม้กระทั่งจะถามผู้บริโภครายนั้นๆ ด้วยว่าเต็มใจอยากจะรับข้อความที่ถูกส่งมาทาง SMS หรือไม่

ผมเคยได้รับข้อความที่ถูกส่งผ่านทาง SMS ให้ไปเรียนพิเศษในหลักสูตรภาษาอังกฤษของสถาบันสอนภาษาอังกฤษแห่งหนึ่งมาแล้ว 2-3 ครั้งในเวลาที่ไล่เลี่ยกันมาก

ผมไม่ได้อวดเก่งว่ามีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษที่ดีจนไม่ต้องเข้าเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม แต่หลักสูตรที่สถาบันแห่งนี้ส่งมาคือหลักสูตรที่ถูกจัดมาเพื่อนักเรียนที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่งไม่เหมาะสมกับอายุในวัย 50 กว่าปีของผมที่เป็นผู้บริหารในองค์กรระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงองค์กรหนึ่ง

แบบนี้เขาเรียกว่า “ไม่ได้ทำการบ้าน”

ยังมีอีกหลายโอกาสที่ผมได้รับโทรศัพท์จากหลากหลายธนาคารชั้นนำในประเทศให้สมัครบัตรเครดิตของธนาคารเหล่านี้โดยที่ผมเองในวันนี้ก็เป็นลูกค้าบัตรเครดิตของธนาคารเหล่านี้อยู่

ที่สำคัญเมื่อผมได้ปฏิเสธการสมัครบัตรเครดิตเหล่านี้ เจ้าหน้าที่ของธนาคารที่โทรศัพท์ติดต่อเข้ามาหาผมกลับโมโห ไม่พอใจที่ผมบอกปฏิเสธ โดยวางหูโทรศัพท์กระแทกจนผมสามารถรับรู้ได้

ทำไมผู้บริโภคอย่างผมต้องถูกลงโทษด้วยอากัปกิริยาที่ข่มขู่ คุกคามเช่นนี้

ผู้บริโภคไม่ได้อยู่ในสถานะที่ต้องง้อผู้ประกอบการอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายในปัจจุบัน ในทุกๆอุตสาหกรรมไม่ใช่หรือ

ถ้าผู้ประกอบการใช้เวลาในการใส่ใจกับผู้บริโภคแต่ละรายด้วยความตั้งใจหรือค่อยๆหลอกล่อ เย้ายวน ไม่ช้าไม่นานผู้บริโภคที่ไม่ได้เป็นลูกค้าคุณในวันนี้ก็มีสิทธิ์จะเป็นลูกค้าคุณในอีกไม่ช้าไม่นาน

เป็นไปไม่ได้หรอกที่อยู่ดีๆจะลุกขึ้นมาขอแต่งงานโดยที่ยังไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้าของอีกฝ่าย

ผมไม่อยากให้ผู้ประกอบการคิดว่าการอ้าปากในแต่ละครั้ง ผู้บริโภคจะต้องยอมคุณเสมอไป คุณจะชนะทุกครั้งที่คุณอ้าปากไม่ได้หรอก

คุณต้องใจเย็นกว่านี้ให้ความดีของคุณโผล่ออกมาให้ผู้บริโภคเขาเห็น ค่อยๆหลอกล่อเย้ายวนกันไป สุดท้ายคุณก็จะได้เขามาเป็นลูกค้า

การที่ผมไม่ตอบตกลงที่จะเป็นลูกค้าคุณในวันนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าผมจะเกลียดคุณ

มันมีเรื่องราวของความจำเป็น (Relevance) และความอยากได้ (Need) ในตัวของผู้บริโภคทุกคน

เมื่อท้องมันอิ่ม มันก็ไม่หิว

เมื่อง่วง ก็อยากนอน

เป็นไปได้ยากที่จะฝืนกฎทางธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะถ้าต้องควักเงินในกระเป๋าของตัวเองออกไปให้ใครสักคน

ผมไม่อยากให้ท่านผู้อ่านเข้าใจผิดว่า “หลอกล่อ เย้ายวน” คือการไปหลอกไปโกง ทำอะไรไม่สุจริตใจต่อผู้บริโภค

การสร้างแบรนด์คือการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการมีปฏิสัมพันธ์กันแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป

เปิดโอกาสให้ผู้โภคได้ใช้เวลาในการรับรู้และเข้าใจถึงคุณประโยชน์หรือความดีงามของสินค้า/บริการต่างๆ ที่มีขายกันอยู่ในตลาด

ไม่ซื้อวันนี้ไม่เป็นไร พร้อมเมื่อไหร่ค่อยแวะกลับเข้ามา

เมื่ออธิบายเกี่ยวกับสินค้าในครั้งแรกแล้วยังไม่เข้าใจ กลับมาอีกทีในครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ได้อย่างไม่มีปัญหา

ต้องรับรองได้ว่าพนักงานแนะนำสินค้าของคุณจะหน้าไม่บูดหน้าไม่เบี้ยว

“ได้ครับไม่มีปัญหา เดี๋ยวจัดให้” เป็นประโยคที่คุณจะได้ยินจากคนเผ่าพันธุ์ดีๆเช่นนี้

พนักงานขายนิสัยดี ลูกค้าก็ติดใจ แพงนิดแพงหน่อยกว่าร้านคู่แข่งไม่ใช่เรื่องใหญ่ ขอให้ถูกใจเป็นสำคัญ

แล้วทำไมผู้ประกอบการหลายราย ยังใช้เรื่องราคามาเป็นกลยุทธ์ในการตลาดที่ขายของถูกเพียงอย่างเดียว โดยลืมไปว่าแท้ที่จริงแล้วมันอาจเป็นเรื่องของคนที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้า/บริการได้เป็นอย่างดี มีพลังขับเคลื่อนมากกว่าแค่ราคาที่ถูกสุดๆแล้วเมื่อไหร่ผู้ประกอบการจะรวยกันสักที

ผมชื่นชมร้านประเภท Gallery หรือ Studio ของ Apple, Sony หรือ Samsung ในพลาซ่า หรือในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป

อยากทดลอง ทดสอบสินค้าประเภทใดในร้านพนักงานขายที่ผมได้เคยพบมาต่างมีความตั้งใจที่จะให้ข้อแนะนำในตัวสินค้าจนผมพอใจ ไม่เคยกดดันให้ผมต้องรีบตัดสินใจทันทีทันใดในเวลานั้น

บ่อยครั้งผมก็กลับเข้าไปหาพนักงานขายในร้านด้วยคำถามใหม่ๆเกี่ยวกับสินค้าประเภทต่างๆด้วยความอยากรู้อยากเห็น

เหมือนเคย ผมก็ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อ

เงินทองหายากใครจะอวดรวยแบบเท่าไหร่ก็ไม่ว่า ขออย่าให้เสียหน้าเป็นใช้ได้

แล้ววันเวลาที่สมควรก็มาถึงผมมีความอยากได้ ผมมีความพร้อม สุดท้ายก็กลับไปซื้อกับคนที่เคยดูแลเอาใจใส่เรามาอย่างเสมอต้นเสนอปลาย ที่ไม่เคยข่มขู่ คุกคามผู้บริโภคตัวเล็กๆอย่างผม

โปรดติดตามบทความต่อไปได้ใหม่นะคะ :)

Categories: Uncategorized | No Comments