ZERO CARBON RESORT FOR SUSTAINABLE TOURISM PROJECT
February 23rd, 2015
Dr. Sohn Chongsrichan and Dr. Robert Wimmer at Mahidol University, Salaya on 18 February 2015.
Categories: Uncategorized | No Comments
February 23rd, 2015
Dr. Sohn Chongsrichan and Dr. Robert Wimmer at Mahidol University, Salaya on 18 February 2015.
Categories: Uncategorized | No Comments
February 20th, 2015
Dr. Sohn Chongsrichan conducts Brand Strategy Management Workshop for DC Consultants on 16 February 2015 at Amarin Plaza.
Categories: Uncategorized | No Comments
February 17th, 2015
A casual talk to staff at Moonlight Exotic Bay Resort, Lanta Island, Krabi on The Power Of Impression on 14 February 2015
Categories: Uncategorized | No Comments
February 12th, 2015
2 ตอนที่แล้วได้พูดถึงกระบวนการสร้างแบรนด์ใน 4 ขั้นตอนแรก
1. รู้จัก
2. เข้าใจ
3. เชื่อ
4. อยากได้
ยังมีเหลืออีก 4 ขั้นในการนำพาให้ธุรกิจของผู้ประกอบการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและมั่งคั่งได้
5. หาซื้อ
ในขั้นหาซื้อเปรียบเสมือนกับช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution Channel)
คุณจะมีของดี โดดเด่นและแตกต่างกว่าคู่แข่งมากเพียงใดคงจะไร้คุณค่า ถ้าหากสินค้าของคุณไม่สามารถหาซื้อได้ในท้องตลาด
แบรนด์ใหญ่ๆที่เราคุ้นชินมักจะได้เปรียบกว่าแบรนด์เล็กๆที่เป็นของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs
เจ้าของแบรนด์ใหญ่มีงบประมาณมากในการสร้างแบรนด์
มีงบมากในการสร้างเครือข่ายของช่องทางการจัดจำหน่าย
มีงบมากในการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ที่สามารถผลักดันให้เกิดสมการของ Economy of Scales เพื่อสร้างความคุ้มค่าต่อการลงทุน
แน่นอนที่สุด แบรนด์ใหญ่มีงบมากพอที่จะจ่ายให้กับช่องทางการขายระดับประเทศ เช่น Hypermarket, Supermarket, หรือ Convenience Store ในรูปแบบของค่าแรกเข้าหรือการสนับสนุนกิจกรรมการตลาดต่างๆที่แต่ละห้างจะขอมา
แล้วผู้ประกอบการ SMEs ที่มีงบน้อยจะทำอย่างไร
แนวคิดของแบรนด์ที่เล็กกว่าหรือแบรนด์ระดับท้องถิ่นที่คุณต้องมีความแตกต่างและโดดเด่นในตัวสินค้าและบริการ
ถ้าคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของแบรนด์เล็กมีเท่ากับแบรนด์ใหญ่ที่มีชื่อเสียง
คำถามที่ตามมาก็คือทำไมเราจะต้องหันไปซื้อสินค้าหรือบริการกับแบรนด์ที่เล็กหรือมีชื่อเสียงที่น้อยกว่า
ยกเว้นแต่ว่าสินค้าหรือบริการนั้นถูกกว่า
ซึ่งก็เป็นสิ่งที่นักการตลาดทั่วไปไม่อยากจะทำ
ความอยู่รอดของผู้ประกอบการ SMEs คือการมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายของตนในมิติที่แคบกว่า
เมื่อรู้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมาย คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ขายในจังหวัดของคุณก่อนแล้วค่อยๆกระจายขยายออกไปสู่จังหวัดข้างเคียง
แต่อย่าลืม ต้องมีดีกว่าคู่แข่ง แล้วคนก็จะช่วยพูดกันแบบปากต่อปากตามขั้นตอนที่ได้กล่าวกันมาแล้วในข้างต้น
เมื่อมีคนกล่าวถึงและเรียกหาสินค้าของคุณ ร้านค้าก็จะเปิดใจคุยและรับพิจารณาสินค้าของคุณเข้าไปขายในร้านของเขาในที่สุด
การพึ่งพาช่องทางการขายผ่านออนไลน์ในอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงมากในปัจจุบันและมีต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก
มีสินค้าในกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่เกิดจากช่องทางออนไลน์มาแล้วอย่างมากมาย
ลองนึกถึงสินค้าประเภทอาหารเสริม เสื้อผ้า ของใช้จุกจิกจิปาถะ เป็นต้น
6. ซื้อ
เมื่อมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่พร้อม
การซื้อขายก็ย่อมเกิดขึ้น
การตลาดคือการสร้าง Want (ความอยาก) และ Demand (การซื้อขาย)
แต่ก็อย่าลืมในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Relevance (ความจำเป็นและความเหมาะสม) ระหว่างสินค้าหรือบริการกับผู้บริโภค
7. ใช้
ผมยังไม่อยากให้ผู้ประกอบการดีใจเมื่อเกิดการซื้อขายในขั้นตอนที่ 6
คุณเคยมีประสบการณ์เหมือนผมไหม ที่ซื้อสินค้าบางอย่างมาใช้แล้ว
สุดท้ายก็รู้สึกผิดหว้ง
ขั้นตอนที่ 7 นี้ดูหนักหนาสาหัสสำหรับบางธุรกิจพอสมควร โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการ
เพราะการบริการ คือการที่ต้องใช้คนเป็นกลไกในการขับเคลื่อน
คนเป็นสิ่งที่ไม่มีความคงเส้นคงวาและเสมอต้นเสมอปลายมากที่สุดในโลก
หรือใครจะเถียง
ผมขอท้าให้คุณไปลองใช้บริการที่สปาไหนก็ได้ที่คุณคิดว่ามีชื่อเสียงที่สุด
ผมเชื่อว่าคุณคงต้องประทับใจกับผู้ให้บริการแห่งนั้นด้วยความเป็นมืออาชีพ มีชื่อเสียงของสถานที่แห่งนั้น
เมื่อคุณประทับใจกับผู้ให้บริการคนใด คุณก็มักจะกลับไปใช้บริการกับคนที่คุณประทับใจคนนั้นอย่างตลอดต่อเนื่อง แบบที่ว่าเป็นลูกค้าขาประจำกับผู้ให้บริการคนดังกล่าว
ผมก็ไม่ทราบว่าคนที่คุณประทับใจถูกจัดอันดับอยู่ในระดับไหน
วันดี คืนดี ผู้ให้บริการคนนั้นเกิดลาออกจากสปาแห่งนี้
คุณไม่มีทางเลือก เพราะไปอยู่ในสถานที่แห่งนั้นแล้ว เพื่อไม่ให้เสียเที่ยว คุณตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการคนใหม่แทน
หลังจาก 2 ชั่วโมงผ่านไป คุณยังประทับใจอยู่หรือเปล่า
มีเพียงแค่ 3 คำตอบ
1. ประทับใจเหมือนเดิม
2. ไม่ประทับใจเลย เพราะฝีมือการทำสปาสู้คนก่อนไม่ได้ บีบนวดหนัก
ไป เจ็บเนื้อเจ็บตัว หน้าบึ้ง หน้างอ หน้าไม่รับแขก
3. ประทับใจกว่า! เพิ่งรู้นะว่ายังมีเทพผู้ให้บริการที่แอบซ่อนตัวอยู่ในสปาแห่งนี้
พูดจาเรียบร้อย หน้าตาสะอาดสะอ้าน มีสัมมาคารวะ ฝีมือในการนวดอยู่ในระดับกำลังดี ไม่เบาไป ไม่หนักไป
ถ้ารู้แบบนี้ เปลี่ยนมาเลือกคนนี้แทนตั้งนานแล้ว
ถ้าผู้ประกอบการสปาแห่งนี้เจอกับคำตอบข้อ 3
ถือได้ว่าโชคดีไป
แต่ถ้าเจอกับคำตอบข้อ 2
ผู้ประกอบการรายนี้กำลังจะเสียลูกค้าไปในที่สุด
ในระหว่างที่ผมกำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้
Flight ที่ผมต้องบินจากกรุงเทพฯ ที่สนามบินดอนเมืองเวลา 9.20 น. ไปยังหาดใหญ่ต้องดีเลย์เป็นเวลานานถึง 3.5 ชั่วโมง ด้วยเหตุผลทางเทคนิค
งานนี้คนที่ให้บริการไม่เกี่ยว
คุณเคยคิดไหมว่า บ่อยครั้งผู้บริโภคอย่างเราๆถูกจับเป็นตัวประกัน
โชคดีผมไม่มีการบรรยายในช่วงบ่าย
มีผู้โดยสารหลายคนในFlightผมที่ถูกดีเลย์ถึง 3.5 ชั่วโมงอยู่ในสภาพที่แย่กว่าผม
พวกเขามีภารกิจที่ต้องทำในช่วงบ่ายของวันศุกร์สิ้นเดือน
จะทำอย่างไรได้ ก็มันดีเลย์ พวกคุณจะเอาอะไรกันนักกันหนา
ผู้โดยสารในFlightนี้ได้รับการตอบแทนด้วยคูปองอาหารและเครื่องดื่มมูลค่า 100 บาท ที่สามารถใช้ได้ที่ร้านเบอร์เกอร์ คิงส์ ในบริเวณผู้โดยสารขาออก ที่สนามบินดอนเมือง
100 บาท!
คุณคิดว่าคุณจะกินอะไรได้จากคูปองมูลค่า 100 บาทในร้านอาหารที่สนามบิน
ทุกคนต่างต้องเพิ่มเงินเพื่อซื้ออาหารที่เป็นชิ้นเป็นอัน มากกว่าแค่กิน Snack
ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก แต่ต้องจำยอม
ผู้โดยสารที่ต้องรอนานถึง 3.5 ชั่วโมง ต่างก็พากัน Facebook และ Twitter ในสิ่งที่พวกเขาต้องเจอ
เป็นการช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กับสายการบินนี้ในทางลบ
ผมเสียดายที่การบริหารจัดการกับการที่เครื่องบินต้องดีเลย์เป็นเพียงแค่การแจกคูปองอาหารและเครื่องดื่มมูลค่า 100 บาท
ผมรู้สึกว่าผู้บริโภคหรือผู้โดยสารเป็นฝ่ายถูกกระทำมากจนเกินไป
การตลาดยุคใหม่ ควรจะเป็นต่างคนต่างได้ไปด้วยกัน (Win-Win)
ผู้โดยสารบางคนบอกว่า ทางสายการบินน่าจะลดราคาค่าตั๋วในการบินเที่ยวต่อไปเป็นมูลค่าสัก 500 บาท เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ไอเดียดี เพราะจะได้เป็นการทำ Customer Relationship Management ไปในตัว เพื่อให้ผู้โดยสารในFlightนี้กลับไปใช้บริการในสายการบินนี้อีก
แต่มีข้อแม้เพียงข้อเดียว
ห้ามดีเลย์อีกเด็ดขาด
ผมมีความเชื่อเสมอว่าผู้บริโภคมักจะให้อภัยกับผู้ประกอบการอย่างไม่มีเงื่อนไขในกรณีที่ผู้ประกอบการนั้นๆดูแลเอาใจใส่ และเป็นห่วงเป็นใยผู้บริโภค
แค่ทำผิด แต่ไม่ได้ทำชั่ว
เพราะในธุรกิจสายการบิน การดีเลย์ในแต่ละFlightเป็นเรื่องปกติซึ่งก็เป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก
ผมและผู้โดยสารคนอื่นในFlightนี้จะไม่โกรธได้อย่างไร
Flightกำหนดออกจากกรุงเทพฯ ไปหาดใหญ่เวลา 9.20 น.
แต่ผมได้รับการแจ้งการเปลี่ยนเวลาบินหรือดีเลย์ผ่าน SMS เวลา 9.25 น.!
คงจะไม่มีใครโกรธหรอกถ้าคุณแจ้งพวกเขาก่อนสัก 1 หรือ 2 ชั่วโมงล่วงหน้า จะได้ไปทำธุระอย่างอื่นก่อน ไม่ต้องมาเสียเวลาในสนามบิน
แต่สำหรับผมมีประโยชน์เพราะได้เขียนต้นฉบับนี้ได้จบตรงเวลา (แต่บ่อยๆก็ไม่เอานะครับ)
8. ชอบ
สรุปแล้วคุณชอบไหมกับการเดินทางโดยสายการบินนี้อีก
ผู้ประกอบการทุกรายต้องการสาวก
สาวกคือคนที่กลับมาซื้อ กลับมาใช้สินค้าหรือบริการของคุณอยู่อย่างตลอดต่อเนื่อง
อย่าเพื่งดีใจถ้าเกิดการซื้อขายเพียงแค่ครั้งเดียว
อย่าหลงตัวเองว่าผู้บริโภคเขารักคุณ
พวกเขาอาจไม่มีทางเลือกก็เป็นได้เพราะพวกเขาอาจตกอยู่ในสภาพของตัวประกัน
อย่าลืมว่าเมื่อตัวประกันถูกปลดปล่อยจากคู่แข่งของคุณที่มีความแตกต่างและโดดเด่นกว่าสินค้าหรือบริการของคุณ
ตัวประกันเหล่านี้ก็จะกลายสภาพมาเป็นผู้ก่อการร้ายทันที
สาปแช่งคุณต่างๆนานา
ขอให้โชคดีครับ
Categories: Uncategorized | No Comments
February 9th, 2015
OCS Brand Strategy Management Workshop Day 6, 5 February 2015, DC Consultant’s office
Categories: Uncategorized | No Comments
February 9th, 2015
Dr. Sohn Chongsrichan, Exclusive interview article in the Rich Magazine, February 2015 issue
Categories: Uncategorized | No Comments
February 2nd, 2015
วันนี้เป็นวันดี ทางบริษัท Y&R ได้มีประเพณีทำบุญเลี้ยงพระประจำปี เพื่อความเป็นสิริมงคลกับบริษัทและพนักงานทุกคน
Categories: Uncategorized | No Comments
February 2nd, 2015
OCS Brand Strategy Management Workshop Day 5, DC Consultant Office on 30 January 2015
Categories: Uncategorized | No Comments
February 2nd, 2015
PASSIONE by Laemthong Rayong Brand Clinic. 29 January 2015
Categories: Uncategorized | No Comments
February 2nd, 2015
Sungroup Branding Seminar & Workshop New Product Development. Bangkok Head Office on 28 January 2015
Categories: Uncategorized | No Comments