August 28th, 2014
ดร.สรณ์ จงศีจันทร์ ได้รับเกียรติไปบรรยายให้กับผู้ประกอบการประมาณ 400 คน ในหัวข้อ “แบรนด์นั้นสำคัญไฉน” (Power of Brand) ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557




Categories: Uncategorized |
No Comments
August 28th, 2014
ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ได้รับเกียรติไปบรรยายให้กับคณาจารย์ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่วนประชาสัมพันธ์จากทุกคณะของมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อ “แบรนด์นั้นสำคัญไฉน” (Power of Brand) ที่บ้านอัมพวา รีสอร์ท จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557









Categories: Uncategorized |
No Comments
August 28th, 2014
ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ และคุณอังษณา จงศรีจันทร์ เข้ารับการอบรมสัมมนาแกะดำทำธุรกิจ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณประเสริฐ เอี่ยมรุ่งโรจน์ ที่โรงแรมหรรษา เมื่อวันที่ 22-23 สิงหาคม 2557


Categories: Uncategorized |
No Comments
August 28th, 2014
ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ และทีมงานทำ Brand Strategy Management Workshop Day 2 ร่วมกับเจ้าของและผู้บริหาร บ.เอกภพ ฟุตแวร์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557


Categories: Uncategorized |
No Comments
August 13th, 2014
ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์และทีมงาน เข้ารับฟังการนำเสนอแผนงานประจำปีจากคณะผู้บริหารและคณะทำงาน บริษัท เจียง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 พร้อมกับให้คำแนะนำในการวางตำแหน่งของ ASAWAN SHOPPING COMPLEX 2 ที่จะเปิดตัวในช่วงปลายปี 2557 นี้





Categories: Uncategorized |
No Comments
August 13th, 2014
ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์และทีมงานได้จัดทำ Brand Strategy Management Workshop ครั้งที่ 1 ให้กับเจ้าของและคณะผู้บริหารบริษัท เอกภพ ฟุตแวร์ จำกัด เมื่อ 4 สิงหาคม 2557 ที่สำนักงานใหญ่ เขตเอกชัย บางบอน




Categories: Uncategorized |
No Comments
August 13th, 2014
ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ และทีมงานจัดทำ Brand Strategy Management Workshop ในมิติด้านการตลาดกับเจ้าของและคณะผู้บริหารบริษัท แสงแห่งศรัทธา จำกัด เมื่อ 1 สิงหาคม 2557 พร้อมกันนี้ได้ปรับแบบรูปโฉมจากตัวตนเดิมเป็นตัวตนใหม่เรียบร้อยแล้ว







Categories: Uncategorized |
No Comments
August 13th, 2014
ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ และทีมงานได้จัดทำ BRAND STRATEGY MANAGEMENT WORKSHOP ครั้งที่ 2 กับเจ้าของและคณะผู้บริหารของบริษัท RIGID FOAM ที่บ้านนนทรี เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2557


Categories: Uncategorized |
No Comments
August 13th, 2014
ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ได้บรรยายและจัดทำ Workshop ให้กับพนักงานของ Sungroup เกี่ยวกับศิลปะการคิด เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2557 ที่สำนักงาน อ.วังม่วง จ.สระบุรี






Categories: Uncategorized |
No Comments
August 3rd, 2014
ผมได้มีโอกาสเดินทางไปพักผ่อนกับภรรยาในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ที่ประเทศไต้หวัน เป็นเวลา 6 วัน
การเดินทางไปเที่ยวในครั้งนี้ไม่ได้ไปเที่ยวด้วยกันตามลำพัง 2 คน เนื่องจากไม่มีเวลาเตรียมตัว เลยตัดสินใจใช้บริการบริษัททัวร์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางพร้อมที่พักและอาหารทุกมื้อ อยู่ในระดับราคาที่คนทั่วไปจะรับได้
คณะที่เดินทางไปพร้อมกันในเที่ยวนี้มีทั้งหมด 32 คน รวมมัคคุเทศก์คนไทย 1 คนที่มีประสบการณ์สูงมาก เหมือนกับหลายๆคณะทัวร์ที่ผมเดินทางไปหลายประเทศ ก็จะมีผู้ร่วมเดินทางทุกเพศ ทุกวัย ลูกทัวร์ที่ไปกับคณะเราในครั้งนี้มีอายุน้อยที่สุด 3 ขวบ เป็นลูกสาวของคุณหมอท่านหนึ่งจากโรงพยาบาลในจังหวัดสกลนคร
และมีลูกทัวร์อีกท่านหนึ่งที่มีอายุมากที่สุดในคณะเดินทางของเรา ท่านทำอาชีพอะไร ไม่มีใครทราบ แต่หลายๆคนจะเรียกท่านว่า “อาเจ๊ก” ท่านมีอายุ 75 ปี ที่ดูไม่เหมือน 75 ปีเอาเลย เพราะดูแข็งแรงมาก เดินเร็ว ยืนตัวตรง พูดจาชัดถ้อยชัดคำ ผมยังนึกว่าท่านอายุเพียง 60 ปีต้นๆด้วยซ้ำ แต่ท่านมีลูกชายอายุประมาณ 30 ปีเดินทางมาเป็นเพื่อน เพื่อดูแลเอาใจใส่คุณพ่อตัวเอง ดูแล้วน่าประทับใจมาก มีความกตัญญูสูงมาก ถึงแม้ว่าหนุ่มคนนี้จะดูไม่ค่อยสนุกกับการเดินทางไปไต้หวันสักเท่าใด
ผมอาจจะสังเกตจากการที่หนุ่มคนนี้ไม่สุงสิงกับใครเลย ไม่พกกล้องถ่ายรูป ไม่สนใจมัคคุเทศก์ที่พยายามจะอธิบายหรือบรรยายเรื่องราวต่างๆของสถานที่ท่องเที่ยวให้พวกเราฟัง และคอยโทรศัพท์ทางไกลกลับประเทศไทยเป็นระยะๆ
ลูกทัวร์ที่ร่วมคณะเดินทางมีหลากหลายอาชีพเช่นเดียวกัน นอกเหนือจากความหลากหลายของอายุ
มีคุณหมอ 4 คน ข้าราชการระดับสูงที่เพิ่งจะเกษียณ เจ้าของธุรกิจขนาดพันล้าน ผู้ประกอบการ SME ในหลายประเภทธุรกิจ อดีตนักกีฬาทีมชาติ อาจารย์ นักการตลาด อดีตผู้บริหารระดับสูงบริษัทโฆษณา นักเรียนประถม นักเรียนอนุบาลและอื่นๆอีก
ต้องขอออกตัวก่อนว่าเพียงแค่ 32 ชีวิต มัคคุเทศก์ก็มีอาการปวดหัวตั้งแต่วินาทีแรก ด้วยความต้องการที่หลากหลาย ความคาดหวังที่มากเกินจริงของการเป็นผู้บริโภคอย่างพวกเราที่ยากจะตอบสนองได้ครบทุกคนในเวลาเดียวกัน
อย่างเช่นการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ก็ยังยากที่จะทำให้ทุกชีวิตบนโต๊ะอาหารมีรอยยิ้มได้
บางคนไม่ทานปลา ไม่ทานผัก ไม่ทานหมู ไม่ทานของมัน ไม่ทานของพิสดารเป็นต้น แต่เท่าที่แอบสังเกตในวันท้ายๆ ทุกคนชอบทานไข่เจียว แต่ก็ไม่มีไข่เจียวเสิร์ฟในช่วง 2-3 วันแรกๆ ซึ่งน่าเสียดายโอกาสที่ปล่อยให้หายไปในการสร้างหนึ่งในความประทับใจต่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ร่วมเดินทางอย่างพวกเรา
การเดินทางไปยังประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียอย่างเช่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เป็นธรรมเนียมที่บริษัททัวร์ทุกบริษัทจะต้องมีการสอดแทรกรายการ “ซื้อสินค้าท้องถิ่น” เข้าไปในโปรแกรมทัวร์ของแต่ละวัน
ในบางประเทศโดยเฉพาะการไปทัวร์ประเทศจีน บางคณะถึงขนาดต้องเข้าเยี่ยมชม และแวะซื้อของถึง 2 จุดในแต่ละวัน ซึ่งหนักหนาสาหัสสำหรับคณะเดินทางหรือลูกทัวร์พอสมควร
แทนที่จะได้เที่ยวและมีเวลาแวะในแต่ละสถานที่นานๆ มีเวลาถ่ายรูปเยอะๆ แต่กลับต้องเสียเวลาไปกับการแวะเข้าร้านขายสินค้าท้องถิ่นประเภทต่างๆ หมดเวลาไปเป็นชั่วโมงๆในแต่ละวัน
แล้วเกิดอะไรขึ้นกับคณะของผมที่ไปไต้หวันในคราวนี้?
ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติ ทุกๆคนก็พอจะเดาได้ว่า เดี๋ยวเขาก็ต้องพาพวกเราเข้าร้านโน้น ออกร้านนี้ เพื่อไปหาซื้อของฝาก ของใช้ ติดตัวกลับเมืองไทย
เนื่องจากผมจำเป็นต้องหากรณีศึกษาเพื่อมาบรรยายเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค โดยมีความคิดที่จะต้องแอบสังเกตและวิเคราะห์การทำธุรกิจของร้านขายของ
ฝากในไต้หวัน 3 ร้านที่พวกเราได้แวะเข้าไป แล้วเดี๋ยวในช่วงท้ายของบทความนี้ ผมจะลองถอดรหัสดูว่า ร้านใดน่าจะยั่งยืนที่สุด
ก่อนอื่นต้องอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับเรื่องราวของร้านทั้ง 3 ประเภทนี้
1. ร้านขายหยก
มีหยกราคาตั้งแต่ 300 บาทไปจนถึงราคาหลาย 10 ล้านบาท
ห้ามถ่ายรูป
รูปแบบของงานดีไซน์ไม่ต่างจากสิ่งที่คนทั่วไปจะคุ้นชิน ในรูปทรงของตัวหยกเอง
มีสัตว์มงคลทุกชนิดที่เป็นหยก
มีวัตถุมงคลทุกชนิดที่เป็นหยก
มีความเป็นจีนสูงมาก
คนขายพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ การซื้อขายต้องให้มัคคุเทศก์ของเราช่วยทำหน้าที่เป็นล่ามในการแปล
ในร้านมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก ไม่มีการแบ่งโซนให้เกิดความชัดเจน ไม่มี Theme หรือ Concept ที่ชัดเจน ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ข้างในดูกระจัดกระจายไปหมด พื้นที่มีขนาดกว้างใหญ่จนไม่สามารถต้อนให้พวกเราอยู่ได้แบบเป็นกลุ่ม เป็นก้อน เพื่อช้อนขึ้นมาในครั้งเดียวได้
ไม่มีการโน้มน้าวด้วยเรื่องราว ที่มาและที่ไป ว่าทำไมพวกเราถึงจะต้องซื้อหยก ขาดแบรนด์และเรื่องราวที่ดี โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ วัยรุ่นดูไม่ให้ความสนใจเอาเลยเพราะไม่มีอะไร โดยเฉพาะรูปแบบงานดีไซน์ที่จะโดนกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้
ที่สำคัญหยกแท้หรือหยกเทียม ไม่มีใครในคณะเราสามารถแยกได้ เพราะพวกเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านหยก
และที่น่าเป็นห่วงอีกข้อคือ คนขายที่มีอายุเฉลี่ยค่อนข้างสูงวัย ดูไม่กระตือรือร้น ลุ่มหลงในการบริการสักเท่าใด อยู่ไปวันๆ ขายไม่ได้ก็ยังคงได้เงินเดือนเหมือนเดิมแล้วจะเหนื่อยพูดปากเปียกปากแฉะโน้มน้าวลูกค้าไปทำไม
2. ร้านขายใบชาอู๋หลง
เจ้าของร้านใช้เวลาในการบรรยายเกี่ยวกับสรรพคุณของชาแต่ละประเภทนานถึง 30 นาที พูดภาษาไทยไม่เป็น ภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย ไม่เหมือนกับร้านขายยาต่างๆในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ผู้บรรยายพูดภาษาไทยแบบน้ำไหลไฟดับ คล่องเหมือนคนไทยอย่างไงอย่างงั้น สุดท้ายคนในแต่ละคณะเคลิ้มไปกับคารมของผู้บรรยายหมดเงินไปกันไม่มากก็น้อย ซึ่งต่างจากอาเฮียที่ร้านขายใบชาในไต้หวันนี้อย่างสิ้นเชิง
ราคาชาอู๋หลงน้ำหนัก 15 กรัม สูงถึง 2,500 บาท
หีบห่อบรรจุภัณฑ์ดูไม่มีเสน่ห์ ไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีให้เลือกเพียงขนาดเดียว คือกระป๋องที่บรรจุชาน้ำหนัก 150 กรัม
ไม่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ น่าเสียดายบรรยากาศโดยรวมของร้านขายใบชานี้ ไม่มีกลิ่นอายและจิตวิญญาณของความเป็นต้นตำรับชาอู๋หลงที่ดี สุดยอด ไร้เทียมทาน
3. ร้านขายขนมพายสอดไส้สัปปะรด
หลายคนบอกว่าถ้าไม่ได้ลิ้มลองขนมพายสอดไส้สัปปะรดคุณก็ยังไปไม่ถึงไต้หวัน
มีการเล่าต่อๆกันว่าประธานาธิบดีเจียง ไค เช็ค ของไต้หวัน มีความชอบ
ส่วนตัวในการรับประทานพายสอดไส้สัปปะรดของร้านนี้เป็นพิเศษ จะแอบแวะมาซื้อเป็นครั้งเป็นคราว (จริงไม่จริงไม่ทราบ แต่มัคคุเทศก์เขาเล่าให้พวกเราฟัง)
ราคาต่อกล่องมีตั้งแต่ 100 กว่าบาทไปจนถึง 300 กว่าบาท
หีบห่อบรรจุภัณฑ์สวยมาก มีหลายขนาดให้เลือก
มีการให้ชิมกันอย่างไม่อั้น แบบไม่ต้องรับประทานอาหารกลางวันก็ได้บรรยากาศภายในร้านตกแต่งแบบเข้ายุค เข้าสมัย มีความเป็นจีน ผสมผสานกับความร่วมสมัยกันอย่างลงตัว
เมื่อซื้อหลายกล่องก็จะมีการแพ็คเข้ากล่องใหญ่ พร้อมผูกเชือก มีปากกาเมจิกให้เขียนชื่อ ที่อยู่ เพื่อไม่ให้หลง
มีระบบในการจ่ายเงินและรับสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ลูกค้าในร้านจะมี 100 คนก็สามารถเอาอยู่ โดยถูกจัดแบ่งออกเป็นโซน เป็นชั้นแยกกันออกไป เช่น คณะคนไทยอยู่ชั้น 2 คณะคนเกาหลีอยู่ชั้น 1 คณะคนอินโดอยู่ชั้น 3 เป็นต้น ไม่กระจัดกระจาย แค่อ้าปากตะโกนก็ได้ยินกันหมด เหมือนถูกจับขังไว้ในสถานกักกันและมีผู้คุมคอยยุว่าสินค้าตัวนั้นดีอย่างไร ตัวนี้ดีอย่างไร
ใช้บัตรเครดิตได้
พนักงานทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส อยากจะได้เราเป็นลูกค้า ถึงแม้จะไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ และอังกฤษได้ไม่ดีนัก แต่พวกเราก็ไม่สนใจ เพราะทุกอย่างได้ถูกอธิบายมาก่อนบนรถทัวร์ และมีการให้ชิมก่อนการตัดสินใจซื้อ
แล้วคุณอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจใดจาก 3 ร้านนี้?
คำตอบที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่เกือบ 100% อยากจะเป็นเจ้าของร้านขายพายสอดไส้สัปปะรด
เพราะอะไร?
1. ใครๆก็กินได้ ตั้งแต่เด็ก 3 ขวบไปจนถึงอาเจ๊กอายุ 75 ปี กินเองหรือซื้อไปฝากคนก็ไม่มีใครปฏิเสธ แต่ถ้าซื้อหยกไปฝากก็ไม่แน่ใจว่าเขาจะชอบแบบหรือถือโชคลางอะไรหรือเปล่าถ้าโชคร้ายซื้อหยกปลอมไปฝากก็น่าจะเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร
2. ราคาถูกเมื่อเทียบกับราคาของหยกหรือใบชา
3. มีน้ำหนักเบา ไม่ต้องกลัวน้ำหนักเกิน ถึงแม้ว่าใบชาหรือหยกจะมีขนาดเบาก็ตาม แต่ราคาก็ยังเป็นปัจจัยหลักเมื่อคุณต้องซื้อไปฝากคนที่บ้าน หรือที่ทำงานด้วยจำนวนมากๆ อย่าลืมว่าคนไทยเป็นคนที่ชอบซื้อของฝาก
4. มีการสร้างความเชื่อต่อสินค้าด้วยเรื่องราวที่มาและที่ไปจนใครๆก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ (สินค้าก็ไม่ได้อร่อยแบบขั้นเทพตามความคาดหวังส่วนตัวของผม แต่ก็รับได้)
5. มีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่น สะดุดตา มีหลายขนาดให้เลือกตามงบประมาณ และตามคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่รอของฝากที่ประเทศไทย ถ้าเป็นเด็กหน่อยก็กล่องเล็กหน่อย ถ้าเป็นเจ้านายก็ต้องกล่องขนาดใหญ่ รวมทุกรส ซื้อไปให้ใครรับรองไม่เสียหน้า ด้วยภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงรสนิยมของผู้ซื้อ
สรุปแล้วความสำเร็จของแบรนด์ก็ขึ้นอยู่กับคำเพียงไม่กี่คำ ที่เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จและยั่งยืน
ดี เด่น โดน ดัง
Categories: Articles Anything, BrandAnything |
No Comments