November 21st, 2013
เมื่อวันที่ 11 ฑ.ย. 2556 ที่ผ่านมา ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ได้จัดทำ workshop สำหรับการ Re-Branding ที่โรงแรม Chatrium Sathorn นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญสำหรับ G-Able ที่จะก้าวไปข้างหน้า สู้ๆนะคะ






Categories: Uncategorized |
No Comments
November 21st, 2013
ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ เป็นเกียรติเข้าร่วมงานเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่ล่าสุด รุ่น N1 ของ OPPO เป็นแบรนด์ที่ไม่หยุดพัฒนาเลยจริงๆนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้คะ

Categories: Uncategorized |
No Comments
November 21st, 2013
HERO เริ่มออกเดินสายแจก Sampling กันแล้วนะคะ โดยที่แรกคือบริษัท Gracz คะ งานนี่รับรองได้ว่าถุงของ HERO เค้าดีจริงๆคะ ลองหาซื้อมาใช้ดูนะคะ หาง่ายไม่ยากเลยคะ ที่ร้าน 7-11 ทุกสาขาคะ

Categories: Uncategorized |
No Comments
November 21st, 2013
ได้มีการจัดการประชุมสมาคมผู้ประกอบการรถใช้แล้ว (Used car) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556 ที่ Chef Man, Eastin Grand Sathorn
นับว่าเป็นการดีที่ผู้ประกอบการได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนทัศนคติ ประสบการณ์ที่พบเจอและช่วยกันหาแนวทางแก้ไข
รวมกันเราอยู่ แยกกันเราวอดนะคะ

Categories: Uncategorized |
No Comments
November 21st, 2013
Elvira Workshop เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2556 เพื่อจัทำแผนธุรกิจสำหรับปี 2557 โดยมีกลุ่มผู้จัดการฝ่ายต่างๆไปจนถึงผู้บริหารทั่วประเทศเข้าร่วมในครั้งนี้ด้วยคะ ถึงเวลาต้องวางแผนสำหรับปีหน้าแล้วนะคะ




Categories: Uncategorized |
No Comments
November 21st, 2013
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา ทางบริษัท DMG ได้เปิดห้องสัมมนาในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อให้ ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ผู้เขียนหนังสือ “แหกกฎ SME ตีให้ดังสู่เวทีโลก” ได้บรรยายและให้ความรู้กับผู้ประกอบการและคนทั่วไปได้เข้าฟัง พร้อมทั้งแจกลายเซ็นให้ผู้ที่ชื่นชอบและติดตาม ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ มาโดยตลอด
ขอบคุณสำหรับการตอบรับที่ดีที่มีให้กับ ดร.สรณ์ จงศรีจันทร์ ด้วยนะคะ แล้วรอพบกับภาคต่อของหนังสือ “แหกกฎ SME ตีให้ดังสู่เวทีโลก”ได้ในอีกไม่ช้าคะ








Categories: Uncategorized |
No Comments
November 14th, 2013
ขอแสดงความยินดีกับบริษัท KEEEN ด้วยนะคะ สำหรับออฟฟิศใหม่ที่ได้ทำพิธีเปิดและทำบุญเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2556 ที่ผ่านมาคะ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งในการเติบโตของเจ้าของธุรกิจ SME ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์
เจ้าของธุรกิจ SME ท่านอื่นอย่าเพิ่งท้อนะคะ หนหางแห่งความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม สู้ๆคะ



Categories: Uncategorized |
No Comments
November 12th, 2013
ผมจบในตอนแรกด้วยข้อคิดในการนำแบรนด์ไทยออกสู่ต่างประเทศข้อที่ 1 ว่าผู้ประกอบการเข้าใจในกฎ กติกา ในการนำแบรนด์ออกสู่แต่ละประเทศมากน้อยเพียงใด
และในฉบับนี้เราจะมาจบด้วยข้อคิดทั้งหมดกัน
ต้องมีความแตกต่างและโดดเด่นสุดๆ
คุณไม่ได้แข่งขันกับสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย เพื่อนำออกไปขายต่างประเทศ
คุณต้องคิดถึงการแข่งขันในภาพใหญ่ ที่มีผู้เล่นมากถึง 200 ประเทศทั่วโลก
ผู้ผลิตแต่ละรายในแต่ละประเทศทั่วโลกล้วนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจและใฝ่ฝันที่จะนำแบรนด์ของพวกเขาออกสู่ตลาดโลกเช่นเดียวกับคุณ ผู้ผลิตแต่ละรายคงไม่ทุ่มเทกำลังใจและกำลังกายเพียงแค่เต็ม 100%
ในความเป็นจริงผู้บริโภคในแต่ละประเทศทั่วโลกต่างก็มีโอกาสและประสบการณ์ที่ได้เห็นและได้ใช้สินค้าที่ดีมีคุณภาพ
ยกเว้นเสียแต่ไม่มีใครในโลกที่สามารถจะปลูกทุเรียนได้ จึงทำให้ผู้บริโภคในแต่ละประเทศไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่ารสชาติที่ดีที่สุดของทุเรียนเป็นอย่างไร
สิ่งที่คุณคิดว่าดีที่สุด อาจจะเป็นเพียงแค่ของธรรมดาที่สุดในสายตาของผู้บริโภคบางคน
จงอย่าเข้าข้างตัวเอง
ผู้ประกอบการต้องหมั่นหาข้อมูลและทำการบ้านให้มากๆ
ผมได้เคยมีโอกาสพบผู้ประกอบการที่กำลังจะเปิดร้านเบเกอรี่ในจังหวัดหนึ่ง
สองสามีภรรยาคู่นี้ ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมสัมมนาในหลักสูตรหนึ่งของผม เขามีความภูมิใจเป็นอย่างมากว่าเค้กมะพร้าวของเขาอร่อยที่สุด และเขามั่นใจว่าสามารถส่งมาขายได้ในกรุงเทพฯ ด้วยคุณภาพเทียบชั้นกับขนมเค้กคุณภาพระดับ 5 ดาว ในโรงแรมใหญ่ๆหรือร้านเค้กดังๆในสยามพารากอน
ด้วยความปรารถนาดี ผมจึงให้เข้าทั้งสองกลับไปทำเค้กมะพร้าวที่เขาคุยนักคุยหนาว่าอร่อยที่สุด แล้วนำมาให้ผู้ร่วมสัมมนาอีก 40 คนรับประทานกันในช่วง Coffee Break ของวันรุ่งขึ้น โดยที่ผมจะไม่ป่าวประกาศอะไรออกไปก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความลำเอียง
ในบ่ายของวันรุ่งขึ้น เมื่อมีการพักรับประทาน Coffee break เค้กมะพร้าวดังกล่าวได้ถูกเสิร์ฟให้กับผู้ร่วมสัมมนารับประทานทุกคน
บ้างก็ไม่ทานเพราะไม่ชอบทานเค้ก
บ้างก็ทานจนหมด
บ้างก็ทานนิดทานหน่อย
เมื่อทุกคนกลับเข้าห้องสัมมนา ผมก็ตั้งคำถามเพื่อให้ทุกคนยกมือว่าระดับความอร่อยของเค้กมะพร้าวอยู่ตรงไหน
สรุป…สอบตกไม่เป็นท่า
หลายๆคนตอบว่า รสชาติที่เพิ่งทานเข้าไปเป็นรสชาติแบบเค้กมะพร้าวราคาถูกที่มีขายตามข้างถนน
บ้างก็ตอบว่ารสชาติไม่ได้เป็นเค้กมะพร้าวตามที่แจ้งไว้ ดูออกจะเป็นเค้กครีมอะไรทำนองนั้น
สุดท้ายสองสามีภรรยาคู่นี้ก็ต้องคอตกและต้องล้มเลิกความคิดที่จะเปิดร้านเบเกอรี่ในฝันด้วยเหตุผลที่เขาทั้งสองเข้าข้างตัวเองมากจนเกินไป
แบรนด์หนึ่งแบรนด์อาจมีตัวตนและจุดยืนที่แตกต่างกันในความคิดของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ
ผมขอยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวและเป็นแบรนด์ที่รู้จักในคนหมู่มาก
Red Bull
ในประเทศไทย Red Bull หรือกระทิงแดง ดูจะเป็นเครื่องดื่มสำหรับคนระดับกลางลงล่าง
ในอดีตมีภาพลักษณ์เป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ใช้แรงงาน มีความเป็นตัวตนของแบรนด์ในระดับชาวบ้านด้วยราคาที่ไม่แพง หาซื้อได้ง่ายแต่ Red Bull ในต่างประเทศมีจุดยืนและตัวตนที่ค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับจุดยืนและตัวตนของ Red Bull ในประเทศไทย
มีบุคลิกที่ทันสมัย ดูกระฉับกระเฉงสำหรับวัยรุ่นที่มี lifestyle เป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะคนที่ชอบความท้าทาย
จะเห็นได้ว่า กิจกรรมที่ Red Bull ในต่างประเทศสนับสนุนจะเป็นกิจกรรมที่ค่อนไปทาง Extreme มากกว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงหรือพลัง
ต้องมีความจำเป็น (Relevance) ต่อผู้บริโภคในแต่ละประเทศ
Facebook ที่มีแฟนมากถึง 600 ล้านคนเป็นตัวอย่างที่บ่งบอกถึงความต้องการที่ผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ในแต่ละวัฒนธรรม ในแต่ละเชื้อชาติ ในแต่ละศาสนา อยากจะได้
ในขณะที่บางสินค้าจะเป็นสิ่งที่ถูกจัดให้เป็นแค่สินค้าสำหรับคนท้องถิ่น
คงเป็นเรื่องยากที่จะให้ชาวยุโรปหรือชาวอเมริกันตอบรับกับสินค้าประเภทพิมเสน การบูร ไพร ขมิ้น ว่านนางดำ พญาว่าน หรือว่านกาวเครือ
พวกฝรั่งตาน้ำข้าวคงต้องงงกับการนำเสนอสินค้าเหล่านี้ไปใช้อย่างแน่นอน
คล้ายๆกับการส่งจิ๊กโช่ หรือเต้าเจี๊ยวไปขายให้กับพวกเขา เพราะสินค้าเหล่านี้ไม่มี “ความจำเป็น” (Relevance) ในชีวิตประจำวัน
6. ต้องมีจุดยืนและตัวตนที่ชัดเจน (Positioning)
Jim Thompson มีจุดยืนและตัวตนที่ชัดเจนมากในความรู้สึกและความนึกคิดของผู้บริโภคชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทย หรือมาทำธุรกิจในประเทศไทย ต่างต้องแวะเข้าไปซื้อสินค้าอะไรสักหนึ่งอย่างในร้าน Jim Thompson เพื่อนำกับไปเป็นของที่ระลึก
Jim Thompson มีความหมายของแบรนด์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยที่เข้ายุคเข้าสมัย มีรสนิยม ด้วยสินค้าที่มีคุณภาพและงานดีไซน์ที่เป็นเลิศ
ผมเชื่อว่าร้านขายของประเภทเดียวกันกับ Jim Thompson ยังไงก็ไม่สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าของแบรนด์ได้ดีเท่ากับ Jim Thompson
ที่สำคัญ Jim Thompson ไม่ได้ขายสินค้าราคาถูกแบบที่ตั้งวางขายที่หน้าวัดหรือหน้าสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
และนี่เป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงพลังอำนาจของแบรนด์ที่แข็งแกร่งบนพื้นฐานของมูลค่าที่สูงกว่า
ผู้บริโภคไม่ได้แค่ต้องการสินค้าราคาถูกเสมอไป อย่างที่หลายๆคนคิด
แบรนด์ต้องมีความคงเส้นคงวา เสมอต้นเสมอปลาย
สินค้าประเภทเกษตรกรรมจากประเทศไทยเป็นโจทย์ที่ยากในการจัดการ
มะม่วงที่ส่งไปประเทศญี่ปุ่นในล๊อตนี้มีความหวานหอม แต่อาจจะหวานน้อยหน่อยในล๊อตหน้าที่จะส่งไปประเทศญี่ปุ่นก็เป็นได้
ความไม่แน่นอนในสินค้าประเภทเกษตรกรรมเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคในแต่ละประเทศอาจจะรับได้ เช่น เชอรี่ที่ผมเคยรับประทานซื้อจาก Tops Supermarket ในบางครั้งก็หวานมาก แต่ในบางครั้งบางคราวก็จืดสนิท เป็นต้น
ความคงเส้นคงวา เสมอต้นเสมอปลายเปรียบเสมือนความคาดหวังที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์
ในความเป็นจริงผู้บริโภคมีความคาดหวังสูงกว่าเงินที่พวกเขาจ่ายออกไป
ห้ามเชยเด็ดขาด
Kotler ได้พูดถึง 4P’s ไว้ในตำราการตลาดที่ทุกๆคนได้รู้จักในมิติของ Product, Price, Place และ Promotion
แต่ยังมีอีก 2P’s ที่ผมอยากจะฝากไว้เพื่อให้กระบวนการสร้างแบรนด์มีความแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม
P – Packaging อย่าลืมว่าผู้บริโภคมักจะซื้อสิ่งที่เห็นอยู่ภายนอกก่อนสิ่งที่ถูกซ่อนไว้อยู่ข้างใน
P – Personality ในความหมายภาษาอังกฤษคือบุคลิกภาพ แต่ผมขอเปลี่ยนให้เขาเป็น “เสน่ห์”
คงไม่มีผู้บริโภคคนใดที่จะทนกับสินค้าที่เชยไร้เสน่ห์
แนวคิดการสร้างแบรนด์ในอีกมุมหนึ่งคือ ผู้บริโภคจะซื้อบุคลิกของตัวเขาเองและต้องการให้สินค้าที่เขาซื้อสะท้อนบุคลิกและตัวตนของเขาสู่คนรอบข้าง
ถ้าคุณซื้อของเชย คุณก็จะเป็นคนเชยในสายตาของบุคคลอื่น
ท้ายสุดคงมีข้อคิดดีๆอีกมากมายในการนำแบรนด์ไทยออกสู่ต่างประเทศ แต่บทความนี้เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของผม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการทั่วไป
Categories: Uncategorized |
No Comments
November 1st, 2013
แบรนด์ไทยสามารถเดินทางไปได้ไกลแค่ไหน มักเป็นคำถามที่หลายๆคนมีอยู่ในใจ
เพราะในชีวิตประจำวันตั้งแต่ลืมตาตอนเช้า เราก็จะเจอกับแบรนด์ระดับโลกที่คอยรุมล้อมให้เราต้องใช้
ในแต่ละเช้า แต่ละวัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะใช้ยาสีฟัน Colgate หรือ Close-up ที่บีบลงบนแปรงสีฟัน Oral-B หรือ Colgate อีกเช่นเคย แล้วก็เริ่มแปรงฟันที่ภาชนะอ่างล้างหน้าแบรนด์ดังอย่าง American Standard หรือ Kohler
หลังจากนั้นก็อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว Lux หรือ Protex
ก่อนที่จะใส่เสื้อผ้าไปทำงานก็ทาผิวด้วยโลชั่นถนอมผิว Vaseline หรือ Nivea
ผมไม่ได้บอกว่าผู้บริโภคไม่ได้ให้ความสนใจกับแบรนด์ไทย แต่ผมกำลังเปิดประเด็นของความนิยมชมชอบของผู้บริโภคไทยต่อแบรนด์ดังที่มาจากต่างประเทศและแบรนด์เหล่านี้ก็มีส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละอุตสาหกรรมของตัวเองเป็นอันดับต้นๆ
ถึงแม้ว่าจะมีแบรนด์ไทยที่เราใช้กันในแต่ละวันเป็นจำนวนมากพอสมควร แต่แบรนด์ไทยเหล่านี้สามารถเดินทางออกนอกประเทศไปต่อกลอนกับแบรนด์ดังในระดับโลกได้มากน้อยเพียงใด
น่าเสียดายที่ทุเรียน มะม่วง มังคุด ส้มตำ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ต้มยำกุ้ง หรือ Cocktail ที่มีชื่อว่าไหมไทย เป็นเพียง Category แบรนด์ที่สามารถบุกทะลุทะลวงไปทุกประเทศทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Category แบรนด์เหล่านี้เป็นที่ยอมรับและชื่นชอบในมุมมองของผู้บริโภควงกว้างถึงคุณภาพ รสชาติ สรรพคุณ และประสบการณ์ที่ผู้บริโภคในแต่ละประเทศจะได้จากเสน่ห์ของความเป็น Category แบรนด์ไทย
คล้ายๆกับ Category แบรนด์ของ Hamburger, Sandwich หรือติ่มซำ ที่คนไทยก็นิยม ชื่นชอบ ฉันใดก็ฉันนั้น
แต่ Category แบรนด์เหล่านั้นมีความโดดเด่นและแตกต่างจาก Category แบรนด์ของไทยที่พวกเขาเหล่านั้นมีลึกลงไปอีกขั้นในความเป็นแบรนด์ระดับโลก เช่น McDonald, Burger King หรือ Subway เป็นต้น ที่ไม่ได้อยู่แค่ที่ Category แบรนด์อย่าง Hamburger หรือ Sandwich เพียงอย่างเดียว
เราคงไม่ดีใจไปกับการที่มีแบรนด์ไทยหลายตัวถูกวางจำหน่ายในลาว เขมร หรือ พม่า เพราะความเป็นประเทศเพื่อนบ้านเปรียบเสมือนกับการมีจังหวัดใหญ่ๆอีก 1 จังหวัด ที่มีรั้วติดอยู่กับชายแดนประเทศไทย
การไหลข้ามไปยังจังหวัดใหญ่ๆอีกจังหวัดหนึ่งจากชายแดนประเทศไทย ของสินค้าต่างๆเป็นเรื่องปกติไปแล้วของพ่อค้าแม่ขาย ตามเขตชายแดนหรือผู้นำเข้าในแต่ละประเทศเหมือนที่ผมเห็นแบรนด์ไทยอย่าง มาม่า โออิชิ นม UHT หนองโพ ไทยชูรสตราชฎา ยาสีฟันดอกบัวคู่ มีขายอยู่กันเกลื่อนกลาดในตลาดเวียงจันทร์หรือเสียมเรียบ ตอนที่มีโอกาสได้ไปเที่ยวเมื่อปีที่แล้ว
ผมกลับยกมือให้กับแบรนด์อย่าง MK สุกี้ ที่บุกไปเปิดสาขาในประเทศญี่ปุ่นได้ถึง 20 สาขาหรือแบรนด์ UOB, F&N, Petronas จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย ที่บุกมาเปิดตลาดในประเทศไทยและในอีกหลายๆประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก
ผมคงไม่พูดถึงความสำเร็จของ Red bull ที่เป็นแบรนด์ไทยไปผงาดอยู่ในต่างประเทศทั่วโลกได้อย่างสง่าผ่าเผยด้วยกลไกและเหตุผลทางการตลาดที่มีเรื่องราวให้เล่ากันเป็นฉากๆ
มีลูกค้าผมรายหนึ่งเคยถามว่า มีเอเจนซี่ไหนในประเทศไทยที่เคยสร้างแบรนด์ไทยได้ประสบความสำเร็จในต่างประเทศบ้าง
ผมตอบอย่างไม่ต้องรีรอเลยว่า…ไม่มี
เพราะมันไม่มีแบรนด์ไทยให้สร้างกันอย่าง Coke, Apple, Nike, Toyota หรือ Samsung
สินค้าของไทยส่วนใหญ่จะหนักไปทางสินค้าประเภทเกษตรกรรม และสิ่งนี้เองเป็นปัจจัยที่ไม่ได้ทำให้มิติของแบรนด์ต้องถูกสร้างขึ้นมาอย่างแบรนด์ดังระดับโลกทั่วไป ด้วยเหตุผลที่ว่า สินค้าเกษตรกรรมมีความเป็น Commodity ในตัวเองค่อนข้างสูง
สินค้าประเภท Commodity เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากกว่าสินค้าประเภทอื่น เพราะถูกจัดให้อยู่ใน Security Needs ในขั้นที่ 1 ของทฤษฎี Maslow
การสร้างแบรนด์จึงไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่ากับการสร้างแบรนด์ที่เป็นสินค้าหรือบริการที่อยู่เหนือ Security Needs ขึ้นไปอีก 4 ระดับ
คุณแยกน้ำเปล่าระหว่างแบรนด์ A และแบรนด์ B ไม่ค่อยได้หรอก หรือระหว่างน้ำตาลทรายแบรนด์ A และน้ำตาลแบรนด์ B ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดเพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะตัดสินใจซื้อสินค้าประเภท Commodity บนพื้นฐานของราคาที่ถูกกว่า
ทำไมผู้ประกอบการไทยถึงอยากนำแบรนด์ของตนออกสู่ต่างประเทศ
1. การที่สามารถนำแบรนด์ของตนเองออกสู่ต่างประเทศได้เป็นการแสดงถึงภาพพจน์แห่งการเป็นผู้นำ ความดีเลิศในคุณภาพหรือนวัตกรรม
แน่นอนที่สุด คุณจำเป็นต้องมีสินค้าที่ดีสุดๆเพื่อไปแข่งขันในเวทีที่ใหญ่กว่าแค่ 77 จังหวัด หรือจำนวนผู้บริโภคแค่ 60 กว่าล้านคน
การแข่งขันในประเทศตนเองก็หนักหนาสาหัสอยู่พอสมควร แต่ถ้าสามารถเอาตัวรอดได้ในตลาดโลก รับรองได้ว่าต้องถูกจัดอยู่ในระดับขั้นเทพ
2. โอกาสและขนาดของตลาดในต่างประเทศที่เย้ายวนมากกว่า แค่ผลิตสินค้าป้อนสู่ผู้บริโภคในประเทศ
ผู้บริโภคกว่า 6,600 ล้านคนในกว่า 200 ประเทศ เป็นเครื่องล่อตาล่อใจให้ผู้ประกอบการต่างพากันสนใจที่จะนำแบรนด์ของตนเองออกสู่ตลาดโลก
3. การแข่งขันภายในประเทศอยู่ในระดับที่สูงมาก และไม่มีช่องว่างที่จะให้แบรนด์ของตนเองได้เล่นอีกต่อไป ในขณะที่ยังพอมีช่องว่างให้แบรนด์ของตนเองได้เบียดเข้าไปในบางตลาดในต่างประเทศ ที่มีการแข่งขันรุนแรงน้อยกว่า ด้วยความได้เปรียบของต้นทุนการผลิต แหล่งวัตถุดิบที่ดีเยี่ยม หรือความเป็นแรงงานที่เฉพาะเจาะจงกว่า
4. Economy of Scales เป็นหัวใจหลักที่ผู้ประกอบการต้องการใช้กระบวนการผลิตของโรงงานตนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเมื่อผลิตออกมามากจนเกินความต้องการของตลาดในประเทศด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า เป็นเหตุให้ต้องหาทางระบายสินค้าที่มีอยู่ไปในกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่และกว้างขึ้นกว่าเดิม เมื่อกระโดดขึ้นหลังเสือแล้วเป็นการยากที่จะกระโดดกลับลงมา
5. ใครๆก็อยากจะรวยมากขึ้นกว่าเดิมไม่ใช่หรือ
ข้อคิดในการนำแบรนด์ไทยออกสู่ต่างประเทศ
1. ผู้ประกอบการเข้าใจในกฎกติกาของแต่ละประเทศมากน้อยเพียงใด
หากคุณกำลังทำสินค้าส่งออกไปยังประเทศในแถบทวีปยุโรปหรืออเมริกาเหนือด้วยหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่สลับซับซ้อนมากมายจนเกินความจำเป็น
รับรองได้ว่าฝ่ายจัดซื้อของแต่ละห้าง คงจะปฏิเสธคุณตั้งแต่วินาทีแรก
สินค้าที่ถูกวางขายในแถบประเทศยุโรปหรืออเมริกาเหนือ จะต้องมีบทบาทแห่งความคนดีที่คอยดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม
ไม่ใช่ใช้ทรัพยากรโลกแบบฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย โดยไม่คำนึงถึงต้นตอที่บรรจุภัณฑ์เหล่านั้นได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเช่น กระดาษที่ถูกผลิตมาจากต้นไม้
ขั้นตอนการผลิตในโรงงานของคุณที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในระดับที่สูงเกินไปหรือไม่
ผู้บริโภคสมัยนี้เขาจริงจังกับสิ่งเหล่านี้มากจนคนหลายๆคนมักจะบอกว่า ผู้บริโภคกลุ่มนี้ “เรื่องมากจนเกินไป”
การส่งสินค้าประเภทเนื้อสัตว์แช่แข็ง ยังต้องมีการแจ้งเรื่องสวัสดิการการเลี้ยงว่าสัตว์เหล่านี้ ถูกเจ้าของฟาร์มเอารัดเอาเปรียบในช่วงที่ถูกเลี้ยงในฟาร์มก่อนที่จะถูกเชือดหรือไม่
ไม่ใช่ให้สัตว์อยู่กันอย่างแออัด
ที่สำคัญเจ้าของฟาร์มจะต้องไม่ทรมานสัตว์ในระหว่างการฆ่าหรือชำแหละ เพราะสัตว์เหล่านี้จะมีความเจ็บปวดทรมานจนเกินไป
ใครที่อยู่ในสายอาชีพส่งออกเนื้อสัตว์ประเภทแช่แข็งย่อมรู้ดีว่า ทุกขั้นตอนมีความละเอียดมาก
คุณจะต้องเข้าใจในขั้นตอนศุลกากรที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศด้วย ซึ่งในแต่ละขั้นแต่ละตอน มีความสลับซับซ้อน วุ่นวายจนเอาตัวแทบไม่รอด
แต่ก็อย่าเพิ่งท้อเพราะทุกอย่างมีทางออกให้ผู้ประกอบการได้บรรลุเป้าหมายของตัวเองอยู่เสมอ
(โปรดอ่านตอนจบในฉบับหน้าครับ)




Categories: Uncategorized |
No Comments